...
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย


วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาธร ทรัพย์รวงทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิด “โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น กิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย" โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และ ดร.สมบูรณ์ นนท์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ว่าที่ร้อยตรี สมเกียรติ เกตุฟัก ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์มอบของที่ระลึกให้แก่โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ในฐานะร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว นับเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และสมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลาง โดยมีวิทยากรได้แก่ นางสาวสุธาทิพย์ ธราพร, นางสุภาพร อร่ามศรี, นายสตานันท์ ครุฑพิเชฐ, นายสามารถ ประสงค์สุข, นายธวัชชัย เกตุเสาะ, นายจิรพงษ์ ตามสมัย, นายธีรพงษ์ บุญสิทธิ์, นายธนาวัฒน์ สมบัติ, นายราเมศวร์ พุ่มพฤกษ์ และ นายนารา รัตนพงศ์ผาสุข จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ หอประชุมโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมฯ นายสมบัติ ล้อจงเฮง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์, ดร.สมบูรณ์ นนท์สกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา ดำประสิทธิ์ กรรมการส่งเสริมการทำนุบำรุงและความเป็นไทย ได้มอบรางวัลให้แก่ นักเรียนที่ได้รับรางวัลการแสดงเพลงฉ่อย “โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น กิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย" สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ ๒ (ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) และสร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ เป้าประสงค์ที่ ๑ : มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (value-based economy) แก่สังคมท้องถิ่นกลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ร้อยละคะแนนที่เกิดจากผลงานสร้างสรรค์/ ผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (creative cultural) ในชุมชนท้องถิ่น การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม ๑. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และสมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดกิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย ๒. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเพลงฉ่อยและฝึกปฏิบัติร้องเพลงฉ่อย และสร้างจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ๑. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จำนวน ๓๐ คน ๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๒ คน ๓. สมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลาง จำนวน ๑๐ คน ผลจากการมีส่วนร่วม ๑. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา เกิดจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ๒. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ และได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเพลงฉ่อยและฝึกปฏิบัติร้องเพลงฉ่อย ๓. มีการสร้างภาคีเครือข่ายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระหว่างสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กับ สถานศึกษาในท้องถิ่น การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ๑. มีการนำข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมมาส่งเสริมพัฒนาการจัดกิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรมให้ตอบสนองความต้องการของชุมชนมากยิ่งขึ้น ๒. มีการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ๓. สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น

ประกาศข่าวเมื่อ : 28 ก.พ. 2567 โดย :




มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์