![]() |
||
![]() |
__________สมัยอยุธยา หลักฐานประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงการเล่นหุ่นในประเทศไทย คือ จดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาร์ด ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๘ และจดหมายเหตุของลาลูแบร์อัครราชทูตของพระหลุยศ์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศสเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๐ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุทั้งสองฉบับได้บันทึก ถึงการเล่นหุ่น เอกสารดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่าการเล่นหุ่นอาจเกิดก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และได้มีการแสดงเรื่อยมาแต่จะเป็นรัชสมัยของพระมหากษัตริย์องค์ไม่มีหลักฐานยืนยัน จึงอาจสรุปได้ว่า มีการแสดงหุ่นตั้งแต่บัดนั้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาประมาณ ๓๐๐ ปี จดหมายเหตุที่กล่าวถึงประเทศไทย ของบาทหลวงตาชาร์ด ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส
WAYANG และ WAYANG KULIT __________การเล่นหุ่นของจีนโดยทั่วไปเรียกว่า “วะหยั่ง” (WAYANG) แต่ถ้าเป็นหุ่นที่ประดิษฐ์เป็นแบบสามมิติ คือ มีลักษณะที่เหมือนคนจริง ๆ นั้นจะมีชื่อเรียกว่า “วะหยั่งโก๊ะเล็ก” (WAYANG GOLEK) ทั้งนี้เนื่องจากประเทศจีนมีการเล่นหนังทำนองหนังใหญ่ และหนังตะลุงด้วยเช่นกัน แต่ตัวหนังนั้นเป็นภาพสองมิติ จึงเรียกในภาษาจีนแตกต่างออกไปว่า “วะหยั่งกุ๊ลี” (“WAYANG KULIT) |
![]() |
![]() |
![]() |
|