หุ่นกระบอกคณธแม่ชะเวงนครสวรรค์

__________จาก    “สาส์นสมเด็จ”   เป็นหลักฐานชิ้นแรก    ที่มีการบันทึกเกี่ยวกับชื่อและประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอก    แสดงให้เห็นว่าใน
ร.ศ.๑๑๒ หรือ พ.ศ.๒๔๓๖ ได้มีหุ่นเลียนแบบอย่างเมืองเหนือในงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่พระราชวังบางประอิน ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของหุ่นกระบอกไทยจึงสืบได้ไกลสุด แค่เพียง "นายเหน่ง คนขี้ยา" ที่อาศัยอยู่ที่วัดเมืองสุโขทัย จำรูปแบบจากหุ่นไหหลำมาดัดแปลงเป็นหุ่นไทยและออกรับงานการแสดงเชิดหุ่นหากิน

__________ต่อมาจนถึง  หม่อมราช “เถาะ” ซึ่งเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ผู้ที่เคยได้ตามเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปเห็นหุ่นกระบอกที่เมืองอุตรดิตถ์ เมื่อกลับมาสร้างหุ่นกระบอก และตั้งคณะหุ่นกระบอกเป็นคณะแรกของกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับประวัติความเป็นมาของครูเหน่ง  จากคำบอกเล่าของแม่ บุญช่วย  เปรมบุญ ผู้เป็นหลานของครูเหน่งได้เล่าให้จักรพันธุ์ โปยษกฤต ให้ฟังว่า  ครูเหน่งเดิมเป็นชาวนครสวรรค์ อาศัยอยู่ที่บ้านบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์  และมีชื่อว่า “นายรื่น” (ไม่ทราบนามสกุล)       เป็นผู้มีความสามารถในการแกะสลัก และเขียนรูป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสามารถแกะหน้าบัน ด้วยฝีมือที่เก่งนี้เอง  เป็นเหตุให้ครูเหน่งต้องหนีการจับกุมของทางการ  เนื่องจากมีผู้มาว่าจ้างให้แกะแม่พิมพ์เพื่อทำเหรียญกษาปณ์ปลอม โดยใช้หินแกะเป็นแม่พิมพ์  แล้วนำมาประกบกันสองข้างใช้ตะกั่วหลอมเทแทนเงิน

  __________ในการกระทำเช่นนี้ถือเป็นความผิดกฎหมายบ้านเมืองมีโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นขันชะเนาะตอกเล็บ เมื่อได้กระทำความผิดนายรื้นจึงหนีจากที่อยู่เดิมจังหวัดนครสวรรค์ ไปอยู่ทางใต้ (ไม่ทราบจังหวัด)  ระหว่างที่หนีการจับกุมของบ้านเมือง  จึงทำให้นายรื้นได้ไปเห็นการแสดงหุ่นไหหลำที่มาเชิดให้คนดู (ไม่ทราบจังหวัดใด)  ตาเหน่งแกติดใจในความสวยงามของหุ่น จึงคิดแกะหัวหุ่นขึ้น โดยดัดแปลงให้มีหน้าตาลักษณะเป็นหุ่นไทยและประดิษฐ์ทำตัวหุ่นเลียนแบบหุ่นจีนไหหลำ ในตอนแรกใช้หัวมันเทศ ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในพื้นบ้านและมีราถูกและง่ายต่อการแกะเป็นหัวหุ่น แต่ในความคงทนของหัวมันเทศจะอยู่ไม่ได้นาน  แต่ตาเหน่งสามารถแกะขึ้นมาในขณะที่กำลังแสดงทันทีด้วยเป็นช่างที่มีฝีมือของนายรื้น ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป คดีความที่ได้กระทำไว้ซาลง  นายรื้น จึงย้ายที่อยู่โดยขึ้นมาอยู่ทางเหนือที่เมืองสุโขทัย และใช้ชื่อว่า  “นายเหน่ง” และได้ตั้งคณะหุ่นกระบอกขึ้นจังหวัดสุโขทัยออกรับงานแสดงอยู่หลายปีในนามคณะหุ่นกระบอกตาเหน่ง เรียกตามลักษณะคือตาเหน่งเป็นคนศีรษะล้าน

__________เมื่อทุกอย่างเริ่มเป็นปกติตาเหน่งจึงได้ย้ายที่อยู่ที่บ้านบางมะฝ่อ  อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่งบ้านดงมะฝ่อเป็นหมู่บ้านที่มีนักแสดงละครที่เก่งเป็นที่รู้จักทั่วคือ คณะละครยายเขียว  ซึ่งทั้งร้องทั้งรำได้ดี   ดังนั้นตาเหน่งจึงได้ให้ยายเขียวมาร่วมเชิดหุ่นกระบอกด้วยกัน ซึ่งการแสดงหุ่นกระบอกหรือการเชิดหุ่นกระบอกนำเอาท่ารำบทร้องประกอบการแสดง บทเจรจาทุกอย่างเลียนแบบมาจากละครทั้งหมด และออกรับงานเป็นที่รู้จักกันนามคณะหุ่นกระบอกตาเหน่ง

__________ต่อมาตาเหน่งได้แต่งงาน (กับผู้ใดไม่มีข้อมูล) และมีบุตร  ๓ คน  คือ  สุ่น กุน เปลื้อง ซึ่งโตขึ้นมาก็ได้หัดละครทั้งร้องทั้งรำเก่งทั้ง ๓ คน  และเชิดหุ่นกระบอกก็เก่ง  ยึดเป็นอาชีพ  และได้ย้าย มาเล่นที่ศาลเจ้าปากคลอง บางมะฝ่อ  และเมื่อตาเหน่งได้เสียชีวิต (ไม่มีข้อมูลปี่ พ.ศ. ใด)  ลูกสาว        ทั้ง ๓ คน ก็ยังยึดอาชีพเล่นหุ่นกระบอกกันเรื่อยมา
จนยายสุ่น ซึ่งเป็นพี่สาวคนโตได้มาเสียชีวิตอีกคน จึงเหลือเพียง ยายกุน กับยายเปลื้อง  ก่อนที่ตาเหน่งจะเสียชีวิต ตาเหน่งได้มอบวงปี่พาทย์ ให้กับยายเปลื้อง  และยกหุ่นกระบอกให้กับยายกุน ต่อมายายเปลื้องแต่งงานกับ นายบุญธรรม   ซึ่งเป็นลูกของยายเขียว  มีลูกด้วยกัน ๔ คน   คือ นางบุญชู   นางบุญช่วย   นายตุ้ย  และนายมงคล 

__________ส่วนนางกุนได้แต่งงานกับตาหวาด  มีลูกด้วยกัน ๒ คน คือ นายสวอง  และนางละอองและเมื่อยายเปลื้องเสียชีวิตลง  วงปี่พาทย์  จึงมาตกอยู่ที่แม่บุญช่วย และหุ่นกระบอกมาตกอยู่ที่นางละออง ซึ่งนางละอองได้ให้แม่บุญช่วยขอยืมหุ่นกระบอกไปออกรับงานหากิน ซึ่งแม่บุญช่วยมีวงปี่พาทย์อยู่แล้วจึงออกรับงานแสดงหุ่นกระบอกจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว ในนาม หุ่นกระบอกคณะแม่บุญช่วย  จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่แม่บุญช่วยจะเสียชีวิต     จึงนำหุ่นกระบอกมาคืนให้กับญาติของนางละออง อีกครั้ง และผู้ที่ได้มรดกหุ่นตาเหน่งเป็นคนสุดท้าย คือ แม่ชะเวง  อ่อนละม้าย