การประยุกต์นิทานพื้นบ้าน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบทละครหุ่นกระบอก จำนวน ๖ เรื่อง ดังนี้
________เรื่องที่นางชะเวง อ่อนละม้าย ใช้แสดงไม่ใช่เรื่องที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว แต่จะแฝงคติสอนใจ ความเชื่อค่านิยม ประเพณี ตลอดจนสะท้อนให้เห็นสภาพ ของเศรษฐกิจและครอบครัวโดยอิงศาสนาพุทธและปรัชญาที่ว่าด้วยการทำความดี ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เช่น
____- พระพรตวิฬา – หน้าแมว เรื่องย่อ เทวดาทำผิดกฎสวรรค์ ถูกลงโทษให้ว่าเกิดในวงศ์เจ้า ฝาแฝด ๑ หญิง (หน้าชะนี) ๑ ชาย (หน้าแมว) เพื่อทำกุศลในเมืองมนุษย์ ต้องผจญกรรม เมื่อพ้นทุกข์กลับมาเป็นเทวดา

____- พระชัยมงคล เรื่องย่อ เป็นเรื่องในวงศ์เจ้าแย่งชิงในหมู่สนมในวัง หักเลห์ ชิงเหลี่ยม แสดงถึงจิตใจดีงามและริษยา ความดีความชั่ว อภินิหาร และความเชื่อ สุดท้ายความดีย่อมชนะความชั่ว
____- ย่อมสนองเวร เรื่องย่อ คิดจะทำร้ายผู้อื่น ผลกลับสนองตัวเองฟังไปคล้าย กัณฑ์เทศน์ทางพุทธศาสนา
____- ไพรวัลย์ปราบอสูร ในเรื่องเป็นวงศ์เจ้า ตกยากเพราะความอิจฉา สามีภรรยาท้องแก่เจอยักษ์เสน่หาภรรยา จับสามีไว้ภรรยาหนีไปคลอดลูกฝากแม่นางไม้ในป่าเลี้ยงลูก “ไพร์วัลย์” จนโตเก่งกล้า ไปแก้แค้นฆ่ายักษ์ทดแทนคุณพ่อ - แม่
____- พิศวงหลงสวาท เรื่องย่อ เป็นเรื่องในวงศ์เจ้า เจ้าประภาสป่าเจอคนธรรม์นำมาเลี้ยง ให้เป็นอนุชาแต่คิดกบฏด้วยมนตราเก่งกล้านัก เจ้าสองพ่อลูกสู้ไปด้วยปัญญาจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลานมาผูกสมัครรักใคร่กัน ฟังไปคล้ายโรมิโอกับจูเลียตแต่สอบถามแล้วแม่เชวงไม่รู้จัก ก็เป็นการแปลกอยู่ และเสน่ห์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นแท้จริง
 
____- ขันทอง เรื่องย่อ เป็นเรื่องชาวบ้าน แต่เกี่ยวกับการชิงรักหักสวาทกับนางยักษ์ มีการ ผจญภัยใช้อภินิหารของศักดิ์สิทธิ์ สุดท้ายความดีชนะความชั่ว
|