“การส่งเสริมสุขภาพ คนสองวัยใส่ใจวัฒนธรรมประเพณี (มาฆบูชา)” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรภพ วงค์รอด “วันมาฆบูชา” เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย การที่เยาวชนได้มีโอกาสมาเรียนรู้ ผ่านผู้อาวุโสในชุมชนถือเป็นการเรียนรู้ผ่าน “ภาพจำ” ซึ่งจะทำให้เยาวชนซาบซึ้งกับประเพณีที่ดีงามอย่างแท้จริง ทั้งนี้ความร่วมมือกันของ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน) รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยหล่อหลอมและสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนและประเทศชาติ ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
“การท่องเที่ยวเชิงค้นหา ด้วยความเชื่อ ศรัทธา วัฒนธรรม และประเพณี : กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง” ผู้ให้ความรู้ : อาจารย์ธนิดา จอมยิ้ม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ การท่องเที่ยวในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาชาวบ้าน และความเป็นไทย ทั้งนี้ “การท่องเที่ยงเชิงค้นหาหรือการท่องเที่ยวสายมู” ถือการท่องเที่ยวเชิงผสมผสาน ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัวว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ถือเป็นหมู่บ้านที่มีชาติพันธุ์ลาวครั่งหรือไทครั่ง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เสน่ห์ของชุมชนนี้ประกอบด้วย การยึดถือ “ฮีต ๑๒ คอง ๑๔” และมีประเพณีสำคัญได้แก่ บุญคูนลานสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ ภายใน “วัดหนองกระดูกเนื้อ” ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวสายมู จำนวน ๕ จุด ที่มีประชาชนทั่วไปมาไหว้ขอพรอย่างสม่ำเสมอ ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
ผู้ให้ความรู้ : รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัตน์ การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาออกแบบสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งรายได้และคุณค่าทางจิตใจ เพื่อการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และ วิถีชีวิตชุมชน โดยเน้นการพัฒนายั่งยืนบนพื้นฐานในด้านความหลากหลายของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาสามารถนำมาต่อยอดในเชิงความสร้างสรรค์ได้ เรียกว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ของชุมชน ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสง การส่งเสริมคุณธรรมทุกระดับตามแผนพัฒนาคุณธรรมแห่งชาติ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม เพื่อสร้างคนดี สังคมดี และมุ่งเน้นด้วยหลัก “บวร” ทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และดำเนินชีวิตหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนฐานคุณธรรมและวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี “ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง” เป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อบูชาและรำลึกถึงพระยาราม การประดิษฐ์ท่ารำเริ่มจากการศึกษาประวัติศาสตร์วัดวรถนาถบรรพต พระอารามหลวง, ประวัติศาสตร์เมืองพระบางในสมัยสุโขทัย, ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี เพื่อประพันธ์เพลงขึ้นใหม่, ออกแบบเครื่องแต่งกาย และท่ารำ ซึ่งกระบวนท่ารำ แบ่งออกเป็น ท่ารำหลัก, ท่ารำรอง และท่ารำเชื่อม ดังนั้น ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง จึงมีกลิ่นอายแบบศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หรือ อยุธยาตอนต้น ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป
“คนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นไทยในหัวใจ และมีความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะศิลปะการแสดง” ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว : นางสาวศศิวิมล หรูประเสริฐรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาภาษาไทย เขียนบท : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ “ลิเกนครสวรรค์ : ส่องศิลป์สืบถิ่นไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
“เชิญเที่ยวนครสวรรค์ในเส้นทางตามรอยเสียงเพลงที่บอกเล่าสะท้อนประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตผู้คนในชุมชน เพื่อดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน” ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว : นายรณภรณ์ เนตรดี นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาดนตรีศึกษา เขียนบท : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา ดำประสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ “นครสวรรค์ในเพลงลูกทุ่ง : ชวนเที่ยวนครสวรรค์ผ่านบทเพลง” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
“หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ : ศูนย์กลางการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นนครสวรรค์” “เรื่องเล่าหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
“หลักพื้นฐานการอ่านภาษาไทย ที่ควรให้ความสำคัญมี ๔ ประการ คือ อักขรวิธี ลีลาการนำเสนอ ความถูกต้อง และความชัดเจน” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ “อ่านฟังเสียง สำเนียงไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
"ปี่พาทย์มอญในสังคมไทย จากมหรสพสมโภชสู่วัฒนธรรมดนตรีในงานอวมงคล" ผู้ให้ความรู้ : อาจารย์ชุดาสมร ดิเรกศิลป์ และอาจารย์วรรณวลี คำพันธ์ “ปี่พาทย์มอญในสังคมไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
"นิทานพื้นบ้านเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ที่ควรอนุรักษ์และร่วมสืบสานให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น" ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา ดำประสิทธิ์ และนายนารา รัตนพงษ์ผาสุก แนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมชุด “เล่าขานนิทาน สืบตำนานท้องถิ่น แผ่นดินนครสวรรค์” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
แนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมชุด “สิงโตกวางตุ้ง ภาพแทนสัญลักษณ์เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
“ตาคลี...จากวันวาน...สู่กาลปัจจุบัน” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
"ไตรภูมิกถาแห่งธรรมราชาสู่เมืองฟ้าจังหวัดนครสวรรค์" ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชาติ คุ้มขำ “นครสวรรค์เมืองแห่งสุคติภูมิ” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จึงได้จัดทำและเผยแพร่สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น “ชื่อวัด” มีความสำคัญในแง่มุมของการบ่งบอกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของคนในท้องถิ่นได้ชัดเจนที่สุด และเนื่องจากภาษาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดจนแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ "ชื่อวัด" จึงสามารถบอกเล่าภูมิหลังที่สื่อความหมายมาจากภาษาต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเชื่อ และความรู้สึกที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม และวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ
การแสดงเชิดสิงโตกว๋องสิว ตอนกินผัก กินส้ม โดยคณะสิงโตกว๋องสิว นครสวรรค์ เนื่องในพิธีเปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสิงโตกว๋องสิว วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จัดโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การเสวนา เรื่อง “พญาลิไท พระผู้พระราชทานความรุ่งเรืองให้เมืองนครสวรรค์” วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ ห้องอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การเชิดสิงโต เป็นวัฒนธรรมจีนที่มักเกิดขึ้นในเทศกาลสำคัญตามประเพณีจีน โดยเฉพาะในช่วงวันตรุษจีน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้เชิดสิงโต และผู้ที่ได้ชมการเชิดสิงโต ใน EP.2[2/2] นี้...คุณนวพันธุ์ เหมชาติวิรุฬห์ (กรรมการสมาคมกว๋องสิวนครสวรรค์)...จะมาบอกเล่าถึงเอกลักษณ์ของสิงโตกว๋องสิวในนครสวรรค์ ทั้งท่าทางการเชิดที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโต ชุดสิงโต หัวสิงโต ดนตรีประกอบการเชิดที่สนุกสนาน รวมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเชิดสิงโตกว๋องสิวของลูกหลานชาวจีนนครสวรรค์
"สิงโตกว๋องสิวนครสวรรค์" หนึ่งในการแสดงทางวัฒนธรรมจีนที่โดดเด่นในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์...สิงโตถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความกล้าหาญ ผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโต จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล