...
สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU
การสร้างมูลค่าทางภูมิปัญญาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรื่องภูมิปัญญา

ผู้ให้ความรู้ : รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัตน์ การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาออกแบบสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งรายได้และคุณค่าทางจิตใจ เพื่อการอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี และ วิถีชีวิตชุมชน โดยเน้นการพัฒนายั่งยืนบนพื้นฐานในด้านความหลากหลายของวัฒนธรรม และภูมิปัญญาสามารถนำมาต่อยอดในเชิงความสร้างสรรค์ได้ เรียกว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ของชุมชน ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป



ชุมชนคุณธรรม : ขับเคลื่อนด้วยพลังบวรและศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน

ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสง การส่งเสริมคุณธรรมทุกระดับตามแผนพัฒนาคุณธรรมแห่งชาติ ถือเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรม เพื่อสร้างคนดี สังคมดี และมุ่งเน้นด้วยหลัก “บวร” ทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และดำเนินชีวิตหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนฐานคุณธรรมและวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป



ภูมิปัญญาวัฒนธรรมสู่นาฏยลักษณ์ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง

ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี “ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง” เป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์จากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อบูชาและรำลึกถึงพระยาราม การประดิษฐ์ท่ารำเริ่มจากการศึกษาประวัติศาสตร์วัดวรถนาถบรรพต พระอารามหลวง, ประวัติศาสตร์เมืองพระบางในสมัยสุโขทัย, ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี เพื่อประพันธ์เพลงขึ้นใหม่, ออกแบบเครื่องแต่งกาย และท่ารำ ซึ่งกระบวนท่ารำ แบ่งออกเป็น ท่ารำหลัก, ท่ารำรอง และท่ารำเชื่อม ดังนั้น ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง จึงมีกลิ่นอายแบบศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หรือ อยุธยาตอนต้น ป.ล. โปรดติดตามรับชมและรับฟังเรื่องราวองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่น่าสนใจในประเด็นอื่น ๆ ต่อไป และขอฝากกดไลก์ กดแชร์คลิปนี้ เพื่อเป็นการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบต่อกันมานาน เพื่อให้ยังคงดำรงอยู่เป็น “รากเหง้า” ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป



ลิเกนครสวรรค์ ส่องศิลป์สืบถิ่นไทย

“คนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นไทยในหัวใจ และมีความภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะศิลปะการแสดง” ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว : นางสาวศศิวิมล หรูประเสริฐรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาภาษาไทย เขียนบท : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ “ลิเกนครสวรรค์ : ส่องศิลป์สืบถิ่นไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



นครสวรรค์ในเพลงลูกทุ่ง

“เชิญเที่ยวนครสวรรค์ในเส้นทางตามรอยเสียงเพลงที่บอกเล่าสะท้อนประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตผู้คนในชุมชน เพื่อดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมาเยือน” ผู้ถ่ายทอดเรื่องราว : นายรณภรณ์ เนตรดี นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาดนตรีศึกษา เขียนบท : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา ดำประสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ “นครสวรรค์ในเพลงลูกทุ่ง : ชวนเที่ยวนครสวรรค์ผ่านบทเพลง” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ : ผู้ให้ความรู้:นายปริญญา จั่นเจริญนักวิชาการศึกษาสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

“หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ : ศูนย์กลางการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นนครสวรรค์” “เรื่องเล่าหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



“การอ่านฟังเสียง สำเนียงไทย” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ

“หลักพื้นฐานการอ่านภาษาไทย ที่ควรให้ความสำคัญมี ๔ ประการ คือ อักขรวิธี ลีลาการนำเสนอ ความถูกต้อง และความชัดเจน” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ “อ่านฟังเสียง สำเนียงไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



ปี่พาทย์มอญในสังคมไทย ผู้ให้ความรู้ : อาจารย์ชุดาสมร ดิเรกศิลป์ และอาจารย์วรรณวลี คำพันธ์

"ปี่พาทย์มอญในสังคมไทย จากมหรสพสมโภชสู่วัฒนธรรมดนตรีในงานอวมงคล" ผู้ให้ความรู้ : อาจารย์ชุดาสมร ดิเรกศิลป์ และอาจารย์วรรณวลี คำพันธ์ “ปี่พาทย์มอญในสังคมไทย” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



เล่าขานนิทาน สืบตำนานท้องถิ่น แผ่นดินนครสวรรค์

"นิทานพื้นบ้านเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ที่ควรอนุรักษ์และร่วมสืบสานให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น" ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา ดำประสิทธิ์ และนายนารา รัตนพงษ์ผาสุก แนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมชุด “เล่าขานนิทาน สืบตำนานท้องถิ่น แผ่นดินนครสวรรค์” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



สิงโตและเทพเจ้า ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม เป็นตัวแทนความเป็นสิริมงคล : รองศาสตราจารย์ณัฐ ล้ำเลิศ

แนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมชุด “สิงโตกวางตุ้ง ภาพแทนสัญลักษณ์เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



“ตาคลี...จากวันวาน...สู่กาลปัจจุบัน” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลุบล กองกลิ่น

“ตาคลี...จากวันวาน...สู่กาลปัจจุบัน” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



นครสวรรค์เมืองแห่งสุคติภูมิ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชาติ คุ้มขำ

"ไตรภูมิกถาแห่งธรรมราชาสู่เมืองฟ้าจังหวัดนครสวรรค์" ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชาติ คุ้มขำ “นครสวรรค์เมืองแห่งสุคติภูมิ” สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น



ที่มาภาษาของชื่อวัดในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จึงได้จัดทำและเผยแพร่สื่อออนไลน์ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยที่ได้รวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ เพื่อการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน และการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและรักษ์ท้องถิ่น “ชื่อวัด” มีความสำคัญในแง่มุมของการบ่งบอกถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นตัวตนของคนในท้องถิ่นได้ชัดเจนที่สุด และเนื่องจากภาษาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดจนแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ "ชื่อวัด" จึงสามารถบอกเล่าภูมิหลังที่สื่อความหมายมาจากภาษาต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความเชื่อ และความรู้สึกที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสังคม และวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี” ผู้ให้ความรู้ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ



การแสดงเชิดสิงโตกว๋องสิว ตอนกินผัก กินส้ม โดยคณะสิงโตกว๋องสิว นครสวรรค์

การแสดงเชิดสิงโตกว๋องสิว ตอนกินผัก กินส้ม โดยคณะสิงโตกว๋องสิว นครสวรรค์ เนื่องในพิธีเปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสิงโตกว๋องสิว วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จัดโดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์



หอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์



พญาลิไท พระผู้พระราชทานความรุ่งเรืองให้เมืองนครสวรรค์

การเสวนา เรื่อง “พญาลิไท พระผู้พระราชทานความรุ่งเรืองให้เมืองนครสวรรค์” วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ ห้องอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์



สิงโตกว๋องสิวในนครสวรรค์ คุณนวพันธุ์ เหมชาติวิรุฬห์ EP.2

การเชิดสิงโต เป็นวัฒนธรรมจีนที่มักเกิดขึ้นในเทศกาลสำคัญตามประเพณีจีน โดยเฉพาะในช่วงวันตรุษจีน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้เชิดสิงโต และผู้ที่ได้ชมการเชิดสิงโต ใน EP.2[2/2] นี้...คุณนวพันธุ์ เหมชาติวิรุฬห์ (กรรมการสมาคมกว๋องสิวนครสวรรค์)...จะมาบอกเล่าถึงเอกลักษณ์ของสิงโตกว๋องสิวในนครสวรรค์ ทั้งท่าทางการเชิดที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโต ชุดสิงโต หัวสิงโต ดนตรีประกอบการเชิดที่สนุกสนาน รวมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเชิดสิงโตกว๋องสิวของลูกหลานชาวจีนนครสวรรค์



สิงโตกว๋องสิวในนครสวรรค์" คุณนวพันธุ์ เหมชาติวิรุฬห์ EP.1

"สิงโตกว๋องสิวนครสวรรค์" หนึ่งในการแสดงทางวัฒนธรรมจีนที่โดดเด่นในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลตรุษจีนนครสวรรค์...สิงโตถือเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจและความกล้าหาญ ผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโต จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล



ศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการ "ทรัพยากรน้ำ" รองศาสตราจารย์ ดร. ทินพันธุ์ เนตรแพ



ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฤทัยรัตน์ โพธิ



การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิกา พรหมมาศ



ศิลปินลุ่มน้ำเจ้าพระยา คุณวุฒิชัย



ศิลปินลุ่มน้ำเจ้าพระยา คุณวิษณุ



ศิลปินลุ่มน้ำเจ้าพระยา คุณปราโมทย์



ศิลปินลุ่มน้ำเจ้าพระยา คุณนิพนธ์



ศิลปินลุ่มน้ำเจ้าพระยา คุณชัชวาล



มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์