:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๕๘

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๕๙
องค์ประกอบที่ ๔ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
          
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

     
          สถาบันอุดมศึกษาต้องมีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการงานทำนุบำรุง
ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตามจุดเน้นของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

       
    ๑. กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    ๒. จัดทำแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ
    ตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
    ๓. กำกับติดตามให้มีการดำเนินงานตามแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    ๔. ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ
    แผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    ๕. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    ๖. เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน
    ๗. กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ               
                    

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ

มีการดำเนินการ

๓-๔ ข้อ

มีการดำเนินการ

๕ ข้อ

มีการดำเนินการ

๖-๗ ข้อ



การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ : รศ.วุฒิชัย ประภากิตติรัตน์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๐๕
  รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๖
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์ รอเพ็ชร์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๕
     
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน
หลักฐาน

กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

     ผลดำเนินการ

     มหาวิทยาลัยกำหนดให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็น
หน่วยงานตามโครงสร้างรับผิดชอบงานตามพันธกิจด้านการ
ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและได้กำหนดผู้รับผิดชอบ
โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
เพื่อขับเคลื่อนงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวม
ของมหาวิทยาลัย ดังนี้

๑. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

ประธานกรรมการ

๒. ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม   รองประธานกรรมการ
๓. ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา กรรมการ
๔. รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม   กรรมการ
๕. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม  
กรรมการ
๖. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะครุศาสตร์   กรรมการ
๗. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   กรรมการ
๘. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กรรมการ
๙. รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ   กรรมการ
๑๐. หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะ   กรรมการ
๑๑. หัวหน้าสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร   กรรมการ
๑๒. หัวหน้าสาขาวิชาดนตรี   กรรมการ
๑๓. หัวหน้าสาขาวิชาการออกแบบ กรรมการ
๑๔. หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์   กรรมการ
๑๕. หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม   กรรมการ
๑๖. หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม   กรรมการ
๑๗. ประธานสภานักศึกษา   กรรมการ
๑๘. นายกองค์การบริหารนักศึกษาภาคปกติ   กรรมการ
๑๙. นายกองค์การบริหารนักศึกษาภาค กศ.บป.   กรรมการ
๒๐. ประธานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
๒๑. ประธานสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตรและ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม  
กรรมการ
๒๒. ประธานสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรรมการ
๒๓. ประธานสโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์   กรรมการ
๒๔. ประธานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ   กรรมการ
๒๕. หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม   กรรมการและเลขานุการ

   หน้าที่รับผิดชอบ
   ๑. จัดทำนโยบายและแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย
   ๒. จัดทำระบบและกลไกตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน
   ๓. ส่งเสริม พัฒนาและบริหารจัดการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บนพื้นฐานศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมตาม   อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
   ๔. แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสร้างเครือข่ายด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
   ๕. ประสานความร่วมมือ กำกับ ติดตามในการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และรายงานการประเมินตนเองตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก





๔-๔.๑-NSRU-OC-๑/๑
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 




  

จัดทำแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถ
ดำเนินการได้ตามแผน

     ผลดำเนินการ

   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมจัดทำแผนภูมิระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
   มหาวิทยาลัยมอบหมายให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมจัดทำแผนกลยุทธ์การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๔ ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ และแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ สำนักฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๔ ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ และแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยคณะกรรมการร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัด  ค่าเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ปีงบประมาณ ๒๕๕๙

   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔
   ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่า ความหลากหลาย ของวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงามภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

   เป้าประสงค์ที่ ๔
การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์

   วัตถุประสงค์
   ๑. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
   ๒. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
   ๓. เพื่อรวบรวมข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ แล้วนำข้อมูลมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม
   ๔. เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์

   ได้มีการกำหนดตัวชี้วัด/เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้


ตัวชี้วัด

เป้าหมาย ๕๙

๑. ระดับความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับ ๔
๒. ระดับความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับ ๔
๓. ระดับความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม ระดับ ๔
๔. ระดับความสำเร็จในการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ระดับ ๔

     มีกิจกรรม/โครงการตามแผนทั้งหมด ๓๑ โครงการ ได้มีการจัดสรรงบประมาณด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ จำนวน ๓,๑๙๔,๐๐๒.๕๐บาท             


 





๔-๔.๑-NSRU-OC-๒/๑
  แผนภูมิระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๔-๔.๑-NSRU-OC-๒/๒
  รายงานการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙
๔-๔.๑-NSRU-OC-๒/๓
  แผนกลยุทธ์การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๔ ปี  พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๑
๔-๔.๑-NSRU-OC-๒/๔
  แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙







กำกับติดตามให้มีการดำเนิน งานตามแผน
ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

     ผลดำเนินการ

   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
   ๑. กำกับติดตามโดย ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานกิจรรม/โครงการตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
   ๒. กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน ๒ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ เมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสี่พญา อาคารสำนักงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และครั้งที่ ๕/๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสี่พญา อาคารสำนักงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อให้คณะกรรมการบริหารสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
   ๓. กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ผ่านการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จำนวน ๑ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมสี่พญา อาคารสำนักงานสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อให้คณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
   ๔. กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ผ่านการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน ๑ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้คณะกรรมการทำนุบำรุงฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

  

 



๔-๔.๑-NSRU-OC-๓/๑
  รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน   รอบ ๙ เดือน    และ รอบ ๑๒ เดือน
๔-๔.๑-NSRU-OC-๓/๒
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ เมื่อวันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙  

ครั้งที่ ๕/๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙
๔-๔.๑-NSRU-OC-๓/๓
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙

๔-๔.๑-NSRU-OC-๓/๔
  รายงานการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙



ประเมินผลความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จ
ตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและ
วัฒนธรรม

     ผลดำเนินการ

   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีการจัดทำรายงานสรุปผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการ และผลความสำเร็จตามตัวชี้วัด/เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ดังนี้

ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของแผนทำนุบำรุง
ศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙


ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

บรรลุ/
ไม่บรรลุ

แผน

ผล

๑. ระดับความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม บรรลุ
๒. ระดับความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม บรรลุ
๓. ระดับความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม บรรลุ
๔. ระดับความสำเร็จในการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น บรรลุ
รวม
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   สรุปผลการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ  ๓๑  โครงการ
   บรรลุผลสำเร็จ จำนวน  ๓๑  โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
   จำนวนตัวชี้วัดของแผน  ๔  ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จ จำนวน  ๔  ตัวชี้วัด
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   ข้อเสนอแนะจากผลการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มีดังนี้
   ๑. ให้มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการด้านการส่งเสริมความรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้กับบุคคลภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง
   ๒. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ควรจะมีการจัดกิจกรรม/โครงการที่มีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศหรือในระดับนานาชาติ
   ๓. ควรมีการสนับสนุนกิจกรรม/โครงการ ที่ส่งเสริมการสร้างคุณธรรม จริยธรรม มารยาทในการเข้าสังคม ให้กับนักศึกษาราชภัฏนครสวรรค์
   ๔. อยากให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรมส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน นักศึกษา
   ๕. อยากให้สำนักจัดพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้กับนักศึกษาได้มาใช้ในการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากสถานที่ตามห้องเรียนมีไม่เพียงพอ




 




๔-๔.๑-NSRU-OC-๔/๑
  รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๔-๔.๑-NSRU-OC-๔/๒
  รายงานการประชุมคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙




         

นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรม
ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

     ผลการดำเนินการ

   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ไปพัฒนากิจกรรม/โครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนาแผนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในปีงบประมาณ ๒๕๖๐  ดังนี้
   ผลการปรับปรุงแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ มีดังนี้
   ๑. ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดตั้งกิจกรรม/โครงการในแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้กับบุคคลภายในและภายนอก จำนวน ๙ โครงการ ดังนี้     
       ๑.๑ โครงการอบรมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาและเยาวชน เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมตึก ๑๑๑๒ ชั้น ๑ อาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๑.๒ โครงการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เรื่อง “อ่าน เขียน ขับขาน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย” เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๑.๓ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การจัดการความรู้และบริหารงานวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ พิพิธภัณฑ์ไทดำฆะมัง ตำบลฆะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
       ๑.๔ โครงการการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ ๗“เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนความหลากหลายทางมรดกชาติพันธุ์” The ๗th International Conference on Arts and Cultures in Creative Economy ๒๐๑๗ : A Variety of Ethnic Heritage  ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
       ๑.๕ โครงการพัฒนาศักยภาพอัจฉริยะวิจัยแห่งโลกกว้างรุ่นเยาว์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๑.๖ โครงการสร้างจิตสำนึกในการบูรณาการการเรียนการสอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม : ภูมิปัญญาการแพทย์แผนโบราณในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพทางเลือก เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๑.๗ โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการรวบรวมข้อมูลทางมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานทางวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อ วันอังคารที่  ๒๔  พฤษภาคม ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมอมราวดี ชั้น ๓ อาคาร ๑๔  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๑.๘ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “มหาวิทยาลัยกับการบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒนธรรม” ระหว่างวันที่ ๖ – ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมเพ็ชรงอก ชั้น ๔ โรงแรมเบเวอร์ลี่ ฮิลล์ ปาร์ค จังหวัดนครสวรรค์
       ๑.๙ โครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “บนเส้นทางชีวิตและ ความดี ศิลปินแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ๒. ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีกิจกรรม/โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศหรือในระดับนานาชาติ ดังนี้      
        ๒.๑ โครงการวงดุริยางค์เยาวชนนครสวรรค์ Nakhonsawan Youth Orchestra (N.Y.O.) ร่วมแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ - ๑๖  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ณ สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ โดย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับเกียรติจากสมาคมกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับเทศบาลนครนครสวรรค์ สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สื่อมวลชน ชมรม และภาคประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ“พ่อผู้ทรงพระอัจฉริยะภาพด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ”
        ๒.๒ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ ๗ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์บนความหลากหลายทางมรดกชาติพันธุ์” The ๗th International Conference on Arts & Cultures in Creative Economy ๒๐๑๗ : A Variety of Ethnic Heritage ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยจำนวน ๑๕ แห่ง
        ๒.๓ โครงการอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การสืบสานวัฒนธรรมไทยของเยาวชนเกี่ยวกับเทคนิคการละเล่นหมากรุกไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องร่มพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมมือกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
        ๒.๔ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “มหาวิทยาลัยกับการบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒนธรรม” ระหว่างวันที่ ๖ – ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมเพ็ชรงอก ชั้น ๔ โรงแรมเบเวอร์ลี่ ฮิลล์ ปาร์ค จังหวัดนครสวรรค์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมมือกับศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทรวงวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
        ๒.๕ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” เมื่อวันพุธที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ และวันจันทร์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมมือกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
   ๓. ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดตั้งกิจกรรม/โครงการในแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักศึกษา คือ  โครงการเรื่องอบรมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาและเยาวชน จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมตึก ๑๑๑๒  ชั้น ๑ อาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ๔. ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ทางสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาเยาวชน นักศึกษา ดังนี้
       ๔.๑ โครงการเรื่องอบรมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาและเยาวชน จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมตึก ๑๑๑๒  ชั้น ๑ อาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๔.๒ โครงการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เรื่อง “อ่าน เขียน ขับขาน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย” จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๔.๓ โครงการพัฒนาศักยภาพอัจฉริยะวิจัยแห่งโลกกว้างรุ่นเยาว์ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๔.๔ โครงการอบรมเชิงปฎิบัติ เรื่อง “การสืบสานวัฒนธรรมไทยของเยาวชนเกี่ยวกับเทคนิคการละเล่นหมากรุกไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องร่มพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๔.๕ โครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “บนเส้นทางชีวิตและ ความดี ศิลปินแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ๕. สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ให้บริการกับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป เช่น ศาลาไทย พื้นที่บริเวณหน้าหอวัฒนธรรม ห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียร   ห้องศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          


 



๔-๔.๑-NSRU-OC-๕/๑
  แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐

 



เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะ
และวัฒนธรรมต่อสาธารณชน

     ผลการดำเนินการ

   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน ดังนี้  
   ๑. มีหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ เป็นศูนย์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งคอยให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป  ดังนี้
      - ห้องโสฬส เป็นห้องนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรมระยะยาวให้บริการความรู้เกี่ยวกับศิลปวัตถุ ชิ้นส่วนโบราณสถาน เครื่องมือเครื่องใช้สมัยโบราณ ฯลฯ ทั้งที่พบในจังหวัดนครสวรรค์และส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย
      - ห้องนิมมานนรดี เป็นห้องนิทรรศการชั่วคราวให้บริการความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์
      - ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร เป็นห้องสำหรับให้บริการการจัดการแสดง ตลอดจนการประกวดกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรม และการอบรมสัมมนา
      - ห้องศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ให้บริการการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องราว ของจังหวัดนครสวรรค์ ในด้านต่างๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในรูปของ เอกสารตำรา งานวิจัย สมุดข่อย ใบลาน จดหมายเหตุ แผนที่ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง และวีดีโอเทป
      - ลานแสดงกลางแจ้งด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมสำหรับให้บริการการจัดกิจกรรมหรือมหกรรมต่างๆ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น การแสดงดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
   ๒. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ต่อสาธารณชน ดังนี้
      - โครงการการจัดงานประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ จังหวัดนครสวรรค์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมมือกับมูลนิธิส่งเสริมงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ – เจ้าแม่ปากน้ำโพ เป็นการเผยแพร่ความรู้วัฒนธรรมความเป็นมาของชุมชนชาวจีนผ่านนิทรรศการ ให้กับชุมชน และประชาชนทั่วไป
      - โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ ๖ The international Conference on Arts and Cultures in Creative Economy “วิถีศิลป์ ถิ่นมังกรสี่แคว เผยแพร่วัฒนธรรมสู่สายตาโลก” ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยความร่วมมือระหว่างเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ๑๔ แห่ง เป็นการเผยแพร่ความรู้ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้กับนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย และประชาชนทั่วไป
      - โครงการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วันพฤหัสบดีที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องอมราวดี อาคาร ๑๔ ชั้น ๓ เป็นการเผยแพร่ความรู้ในการบูรณาการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      - โครงการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ  บริเวณอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกผู้เสียชีวิตในราชการสงคราม ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และมณฑลทหารบกที่ ๓๑ เป็นการเผยแพร่ความรู้พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กับชุมชน และประชาชนทั่วไป
      - โครงการพัฒนาศักยภาพอัจฉริยะวิจัยแห่งโลกกว้างรุ่นเยาว์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี Youth Researcher training Center for ๗๐th Anniversary king Rama ๙ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการเผยแพร่ความรู้ทักษะการเป็นนักวิจัยรุ่นเยาว์ด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน ความรู้เกี่ยวกับพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้กับนักเรียน
      - โครงการบริการวิชาการเรื่อง “ภาพสะท้อนสังคมเรื่องภูมิปัญญาความเชื่อด้านเครื่องรางของขลังยอดนิยมปากน้ำโพ” เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ  ลาน ชั้น ๑ ห้างสรรพสินค้าแฟรี่แลนด์ เป็นการเผยแพร่ความรู้องค์ความรู้และภูมิปัญญาด้านเครื่องรางของขลังเมืองปากน้ำโพ ให้กับชุมชน คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักศึกษา นักวิชาการเครือข่ายบุคลากร และนักวิจัย
      - โครงการบริการวิชาการ  เรื่องอบรมภาวะผู้นำทางคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาแกนนำ Youth Ethic Moral leadership Training Camp. ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ ห้องประชุมชั้น ๑ คณะเทคโนโลยี การเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นการเผยแพร่ความรู้หลักคุณธรรมและจริยธรรม ให้กับนักศึกษา
      - โครงการเสวนาทางวิชาการ “สานสุนทรีย์ สี่แควศิลป์ : มองอดีต ปัจจุบัน ผ่านดนตรี กวี ศิลป์ ประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายนครสวรรค์” เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๙    ณ  ลาน Event Hall ชั้น ๑ ห้างสรรพสินค้าแฟรี่แลนด์ เป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ เรื่องดนตรี กวี ศิลป์ ประวัติศาสตร์ และภาพถ่ายนครสวรรค์ ให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา 
   ๓. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ผ่านทางจดหมายข่าวสี่พญา ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
   ๔. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ดำเนินการ ผ่านทางเว็บไซต์ และ facebook ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม


 




๔-๔.๑-NSRU-OC-๖/๑
  ภาพถ่ายการให้บริการหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
๔-๔.๑-NSRU-OC-๖/๒
  สรุปโครงการจัดงานประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี ๒๕๕๙
  สรุปโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ ๖ The international Conference on Arts and Cultures in Creative Economy “วิถีศิลป์ ถิ่นมังกรสี่แคว เผยแพร่วัฒนธรรมสู่สายตาโลก”
  สรุปโครงการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  สรุปโครงการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา
  สรุปโครงการพัฒนาศักยภาพอัจฉริยะวิจัยแห่งโลกกว้างรุ่นเยาว์ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี Youth Researcher training Center for ๗๐th Anniversary king Rama ๙
  สรุปโครงการบริการวิชาการเรื่อง “ภาพสะท้อนสังคมเรื่องภูมิปัญญาความเชื่อด้านเครื่องรางของขลังยอดนิยมปากน้ำโพ”
  สรุปโครงการบริการวิชาการ  เรื่องอบรมภาวะผู้นำทางคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาแกนนำ Youth Ethic Moral leadership Training Camp.
  สรุปโครงการเสวนาทางวิชาการ “สานสุนทรีย์ สี่แควศิลป์ : มองอดีต ปัจจุบัน ผ่านดนตรี กวี ศิลป์ ประวัติศาสตร์ ภาพถ่ายนครสวรรค์”
๔-๔.๑-NSRU-OC-๖/๓
  จดหมายข่าวสี่พญา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม 
๔-๔.๑-NSRU-OC-๖/๔
  เว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
http://ac1.nsru.ac.th/
facebook สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
https://www.facebook.com/culturensru

 

 

 

   

 

กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

     ผลการดำเนินการ
   


 

 

 

 

 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
 

จุดแข็ง
-

จุดที่ควรพัฒนา
-

วิธีปฏิบัติที่ดี
-