:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๕๘

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๕๙
องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบัน            
และเอกลักษณ์ของสถาบัน

          
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

     
          สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม
และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องดำเนินงาน
ผ่านสำนัก ดังนั้นสำนักต้องมีการพัฒนาแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนัก
ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลุ่มสถาบันตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยง
และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้


เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

       
    ๑. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนัก
    และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและ
    เอกลักษณ์ของสำนัก และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการ
    ประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และ
    เสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    ๒. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น
    จากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของ
    สำนักและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
    ๓. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการที่อธิบายการดำเนินงาน
    อย่างชัดเจน
    ๔. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และ
    แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและ
    ด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้
    ในการปฏิบัติงานจริง
    ๕. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ
    และสายสนับสนุน
    ๖.ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและ
    สอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกัน
    คุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ
    การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ                     
                    

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ

มีการดำเนินการ

๓ ข้อ

มีการดำเนินการ

๔-๕ ข้อ

มีการดำเนินการ

๖ ข้อ



การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ : รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๖ 
  ดร.รุ่งรัตติกาล  ม่วงไหม เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๗ 
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์ รอเพ็ชร์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๕ 
     
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน
หลักฐาน

พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT
โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักและสอดคล้อง
กับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับ
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสำนัก และพัฒนาไป
สู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปี
ตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมาย
ของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อ
พิจารณาอนุมัติ

     ผลดำเนินการ

   ๑. สำนักฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและพัฒนาแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการและแผนปฏิบัติราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑)
   ๒. สำนักฯ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกคนร่วมกันวิเคราะห์สภาวะองค์กร หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของสำนักฯ เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร  กำหนดกลยุทธ์ และทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสำนักฯ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น (๕-๕.๑-NSRU_OC-  ๑/๒)
   ๓. จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมได้มีการนำผลที่ได้มาจัดทำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑) ได้นำข้อมูลที่ได้จากการจัดทำแผนกลยุทธ์มาประกอบการทบทวนจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ และแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และ๒๕๖๐ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดตัวบ่งชี้ ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๓,๑/๔,๑/๕)
   ๔. มีการนำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑),แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑,แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และ๒๕๖๐  เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาอนุมัติ และนำเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๖,๑/๗,๑/๘)    
   ๕. มีการกำกับติดตามการดำเนินงาน  ตามแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๙) และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๐, ๑/๑๑)
   ๖. นำข้อเสนอแนะมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี หรือกิจกรรม/โครงการ  ในปีงบประมาณถัดไป (๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๒)    

 





 







๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑   
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ 
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๒
  การวิเคราะห์สภาวะองค์กร  กำหนดกลยุทธ์ และการทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยการวิเคราะห์ SWOT ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๓
  แผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ๒๕๕๘- ๒๕๖๑)
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๔
  แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน ๔ ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๕
  แผนปฏิบัติราชการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙  และ ๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๖
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙  และ ๑/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๗
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙  และ ๑/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๘
  บันทึกข้อความการพิจารณาอนุมัติแผนกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๙
  รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน  รอบ ๙ เดือน  และ รอบ ๑๒ เดือน  
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๐
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ , ๔/๒๕๕๙ และ ๕/๒๕๔๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๑
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๒
  แผนปฏิบัติราชการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ ๒
๕๖๐





ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจาก
การวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัย
ภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผล
ต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักและให้
ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม

     ผลดำเนินการ

   ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้ากลุ่มงาน ๔ กลุ่มงาน ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑) โดยมีการกำหนดนโยบาย และจัดทำปฏิทินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-  ๒/๒,๒/๓)
  ๒.สำนักฯได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรร่วมกันการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงผลกระทบและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงปีงบประมาณ ๒๕๕๙เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อมูลแผนการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๔)   
   ๓. นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบ และแนวทางการป้องกันความเสี่ยง มาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มีการระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายในการบริหารงาน และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง  โดยมีความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก  ดังนี้
      ๑. ขาดการสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น หุ่นกระบอก  แม่เชวง
      ๒. อาคารหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์อาจเกิดอัคคีภัยเนื่องจากระบบไฟฟ้าเกิดการชำรุด
(๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๕)
   ๔. มีการนำข้อมูลแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕ ๕๙ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๖,๒/๗)    
   ๕. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕ ๕๙ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๘) และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๙,๒/๑๐) 
    ๖. นำข้อเสนอแนะมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๑)

 

  

 






๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑
  คำสั่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประจำปี ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๒
  นโยบายความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๓
  ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๔
  การประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดทำแผนกลยุทธ์
แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แผนบริหารความเสี่ยง และแผนกลยุทธ์ด้านการเงิน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙

๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๕
  แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๖
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๗
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙  
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๘
  รายงานผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
รอบ ๖ เดือน
  รอบ ๙ เดือน   และรอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๙
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙   และ ๕/๒๕๔๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๐
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๑
  แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ๒๕๖

 



บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง ๑๐
ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

     ผลดำเนินการ

   รศ.ดร.สุชาติ  แสงทอง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับรางวัล    ธรรมาภิบาล  “สิงห์ทอง”รางวัลนักปกครองท้องถิ่นแห่งปี ผู้บริหาร และนักพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๗ และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นแห่งปี ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๗ เมื่อวันพุธที่ ๓๐ มีนาคม  ๒๕๕๙  เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ศูนย์ประชุม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โดย ฯพณฯ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานพิธี มอบประทานรางวัล (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑)
   ผู้บริหารบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ตามความในมาตรา ๓/๑ ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสังคม       ที่ดี  พ.ศ. ๒๕๔๖  ดังนี้
   ๑. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
   มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี มีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒,๓/๓) มีกระบวนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการทำงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๔) มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๕)
   ๒. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
   ผู้บริหารกำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดโดยมีการจัดทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี  และมีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณตามประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักฯ
(๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๖,๓/๗)
   ๓. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)  
   มีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้    ส่วนเสีย ได้แก่ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่บุคลากร ชุมชน และประชาชนทั่วไป โดยจัดกิจกรรม/โครงการตอบสนองความต้องการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๘)
   ๔. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)  
   ผู้บริหารได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบด้านการบริหารทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้
   ๑. หน้าที่ขององค์กรที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุความสำเร็จ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๙)
   ๒. ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บุคลากร ได้มีการให้เจ้าหน้าที่บุคลากรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๐)
   ๓. ด้านกฎหมายมีการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของราชการ และของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อย่างเคร่งครัด (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๑)
   ๕. หลักความโปร่งใส (Transparency)
   มีการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหาร ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนัก และสามารถตรวจสอบการทำงานได้ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๒)
   ๖. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
   มีการส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจของสำนัก ดังนี้
   -   มีการจัดตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก ๕ คณะ ผู้แทนจากกองพัฒนานักศึกษา และบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวมของมหาวิทยาลัย และในภาพรวมของคณะ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๓)
   - มีคณะกรรมการประจำสำนักที่มาจากบุคคลภายนอกจำนวน ๕ คน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๔)
   ๗. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
   มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย โดยสำนักมี ๔ กลุ่มงาน มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน และมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๕,๓/๑๖)
   ๘. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
   ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของสำนักตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ หน่วยงานไม่เคยได้รับการร้องเรียนในทางเสื่อมเสีย (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๗)
   ๙. หลักความเสมอภาค (Equity)
   ผู้บริหารให้บริการนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร และประชาชนทั่วไป อย่างเท่าถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เช่น
   - ให้บริการตามโครงการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เรื่อง อ่าน เขียน ขับขาน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ให้กับนักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายใน ภายนอก และประชาชนทั่วไป (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๘)
   - ให้การส่งเสริมและสนับสนุนโครงการสร้างจิตสำนึกในการบูรณาการการเรียนการสอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม : ภูมิปัญญาการแพทย์ แผนโบราณในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพทางเลือก ให้กับ นักศึกษา บุคลากรภายใน ภายนอก และประชาชนทั่วไป (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๙)
   - ให้การส่งเสริมและสนับสนุนโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “มหาวิทยาลัยกับการบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒนธรรม” ให้กับผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากร (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒๐)
   ๑๐. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)
   
ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของสำนักเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒๑,๓/๒๒)



 



๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑
   ภาพถ่ายการรับรางวัล ธรรมาภิบาล “สิงห์ทอง”
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒
  แผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี) ปี พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๑ 
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๓
  แผนปฏิบัติราชการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙   และ ๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๔
  แผนภูมิการจัดทำแผนกลยุทธ์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๕
  รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๖
  สรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๗
  รายงานการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๘
  ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม/โครงการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๙
  รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙

๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๐
  คู่มือการปฏิบัติงาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๑
  รายงานผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๒
  เว็บไซต์ระบบข้อมูลสารสนเทศ
http://ac1.nsru.ac.th/
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๓
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๔
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๕
  คำสั่งแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๖
  คำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๗
  รายงานผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๘
  รายงานสรุปโครงการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เรื่อง อ่าน เขียน ขับขาน กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๙
  รายงานสรุปโครงการสร้างจิตสำนึกในการบูรณาการการเรียนการสอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม : ภูมิปัญญาการแพทย์ แผนโบราณในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพทางเลือก
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒๐
  รายงานสรุปโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “มหาวิทยาลัยกับการบริหารจัดการงานด้านศิลปวัฒนธรรม”
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒๑
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐
๒/๒๕๖๐ ,   ๓/๒๕๖๐ ,   ๔/๒๕๖๐ และ  ๕/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒๒
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐  และ
๒/๒๕๖๐

 




         

ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล
ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจ
ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่าง
เป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
และนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

     ผลการดำเนินการ

   ๑. สำนักฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักฯ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๑)
   ๒. มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม  เพื่อสำรวจประเด็นในการจัดการความรู้ของสำนักฯ ซึ่งประเด็นในการจัดการความรู้ คือ ขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๒)
   ๓. มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ กำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๓)
   ๔. จัดกิจกรรม/โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถให้แก่บุคลากรของสำนักฯ ในประเด็นขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๔)
   ๕. มีการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำเป็นคู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสร้างความเข้าใจในเรื่องขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๕)
   ๖. ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา ประโยชน์ในการดำเนินงาน และนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุง แก้ไขคู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสำนักฯ ให้มีรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น (๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๖,๔/๗)
  ๗. นำความรู้และแนวปฏิบัติที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักฯ และนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการปฏิบัติงานในการจัดกิจกรรม/โครงการวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๘)

                                                                                                                                                                                                                                                                                      

      

 







๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๑
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๒
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ๑/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๓
  แผนการจัดการความรู้  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๔
  สรุปผลโครงการจัดทำแผนจัดการความรู้ (KM) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๕
  คู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ฉบับร่าง)
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๖
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ๓/๒๕๖๐  และ ๔/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๗
  คู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการและพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (ฉบับสมบูรณ์)
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๘
  เว็บไซต์สำนักฯ
http://ac1.nsru.ac.th/

 




การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหาร
และแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

     ผลการดำเนินการ  

   ๑. สำนักฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯจัดการจัดทำแผนอัตรากำลัง และแผนพัฒนาบุคลากรของสำนักฯ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๑)
   ๒. มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง ระยะ ๔ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑   โดยให้มีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้ ๑. มีการวิเคราะห์ภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายรัฐบาล และสภาพปัญหาของสำนัก ๒. มีการกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในและการจัดระบบงาน เพื่อรองรับภารกิจตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้สามารถแก้ปัญหาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านบุคลากรของสำนักฯพบว่า ยังมีจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการให้เป็นไปตามพันธกิจของสำนักฯ เนื่องจากนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรทำให้ขาดแคลนบุคลากรในขณะที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการจัดทำแผนอัตรากำลังระยะยาวขึ้น (๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๒) 
   ๓. มีการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ โดยมีการจัดสรรงบประมาณในการเข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน     การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ งานด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทำให้บุคลากรในหน่วยงานเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพอันจะส่งผลสำเร็จต่อเป้าหมายการดำเนินงานของสำนักฯ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๓)
   ๔. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๔) และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๕,๕/๖)
    ๕. นำข้อเสนอแนะมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากร หรือกิจกรรม/โครงการ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐(๕-๕.๑-NSRU_O
C-๕/๗)



 




๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๑
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๒
  แผนอัตรากำลัง ระยะ ๔ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๖๑
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๓
  แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙  และ ๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๔
  สรุปการไปอบรม /ประชุม/ สัมมนา ด้านการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙
รอบ ๖ เดือน
  รอบ ๙ เดือน  และ รอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๕
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๔/๒๕๕๙  และ ๕/๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๖
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๗
  แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐

 

   

 

ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
พันธกิจและพัฒนาการของสำนักที่ได้ปรับให้การ
ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของ
การบริหารงานสำนักตามปกติที่ประกอบด้วย
การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ
และการประเมินคุณภาพ

     ผลการดำเนินการ

    สำนักฯ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักและมหาวิทยาลัย ๓ ระบบ ดังนี้
    ๑. ระบบการควบคุมคุณภาพ
    มีนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยที่เป็นแนวทางให้สำนักฯ ต้องปฏิบัติตาม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑) สำนักฯ ได้กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักที่สอดคล้องกับของมหาวิทยาลัย (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๒)  สำนักฯ ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๓) สำนักฯ จัดทำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๔,๖/๕,๖/๖)
    ๒. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
    มีการกำกับติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๙  รอบ ๖ เดือน ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๗) และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๘,๖/๙)
    มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสำนัก ปีการศึกษา ๒๕๕๙ (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๐)  เสนอต่อคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขรายงานการประเมินตนเองของสำนัก ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๑)
    ๓. ระบบการประเมินคุณภาพ
    มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน    ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๒)     เพื่อประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และสรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ และมีการนำผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสำนักฯ เพื่อปรับปรุงการทำงาน และพัฒนาผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯให้ดียิ่งขึ้น  (๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๓)   



 








๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑
  นโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๒
  นโยบายการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๓
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนัก
ศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๕๙

๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๔
  แผนการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๕
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๖
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๗
  รายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ รอบ ๖ เดือน
รอบ ๙ เดือน  และ รอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๘
  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐   , ๔/๒๕๖๐   และ ๕/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๙
  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐   และ ๒/๒๕๖๐
๕-๕.๑-NSRU_OC-๗/๑๐
  รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา  ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๑
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา ๒๕๕๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๒
  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักและสถาบัน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ 
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๓
  แผนพัฒนาคุณภาพสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๕๙

 

 

 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๕ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
       
 

จุดแข็ง
-

จุดที่ควรพัฒนา
-

วิธีปฏิบัติที่ดี
-