ข้อ |
เกณฑ์การประเมิน |
๑ |
มีแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
ผลดำเนินการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดทำแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักฯ โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
เป้าประสงค์ ๒ มีแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ ๒.๔ พัฒนาหอวัฒนธรรมจังวัดนครสวรรค์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการท่องเที่ยว
ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
๒. เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของจังหวัดนครสวรรค์ ในการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์งานนิทรรศการด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แก่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
๓. เพื่อให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้ ผ่านงานเอกสาร หนังสือตำรา งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด
๑. จำนวนโครงการ/กิจกรรมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๓ กิจกรรม/โครงการ
๒. ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามวัตถุประสงค์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
๓. จำนวนผู้ใช้บริการและเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ คน
๔. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ คะแนน
มีกิจกรรม/โครงการตามแผนทั้งหมด ๖ กิจกรรม/โครงการ ได้มีการจัดสรรงบประมาณหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ จำนวน ๒๕๙,๔๐๐ บาท ดังนี้
กิจกรรม/โครงการ |
งบประมาณ |
๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” |
๓๕,๐๐๐ |
๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" |
๓๔,๔๐๐ |
๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ |
๙๕,๐๐๐ |
๔. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ |
๒๕,๐๐๐ |
๕. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code |
๗๐,๐๐๐ |
๖. ประชาสัมพันธ์เชิญเข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ |
- |
มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้
๑. จัดทำแบบเสนอกิจกรรม/โครงการ
๒. ทำการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม/โครงการผ่านบันทึกข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์สำนักฯ Facebook สำนักฯ
๓. จัดทำแบบตอบรับการเข้าร่วมอบรมกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมงาน
๔. จัดทำหนังสือขออนุญาตใช้สถานที่/หนังสือเชิญวิทยากร
๕. ทำเรื่องขอยืมเงินทดรองจ่าย
๖. ดำเนินการจัดอบรมกิจกรรม/โครงการหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๗. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ และข้อเสนอแนะ
๘. จัดทำหนังสือขอบคุณวิทยากร
๙. ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ
๑๐. จัดทำเล่มสรุปผลกิจกรรม/โครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมดในแต่ละกิจกรรม/โครงการ
|
|
หลักฐาน
๑-NSRU_OC-๑/๑ แผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
|
๒ |
มีการดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
ผลดำเนินการ
มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ดังนี้
๑. จัดทำแบบเสนอกิจกรรม/โครงการ ให้ผู้บริหารพิจารณา ดังนี้
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๒. ทำการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม/โครงการผ่านบันทึกข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์สำนักฯ Facebook สำนักฯ ดังนี้
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” มีการประชาสัมพันธ์ผ่านบันทึกข้อความไปยังคณะทั้ง ๕ คณะ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหน่วยงานภายนอก ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" มีการประชาสัมพันธ์ผ่านบันทึกข้อความไปยังคณะทั้ง ๕ คณะ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหน่วยงานภายนอก ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านบันทึกข้อความไปยังคณะทั้ง ๕ คณะ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหน่วยงานภายนอก ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านบันทึกข้อความไปยังคณะทั้ง ๕ คณะ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหน่วยงานภายนอก ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
๓. จัดทำแบบตอบรับการเข้าร่วมอบรมกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ดังนี้
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
๔. จัดทำหนังสือขออนุญาตใช้สถานที่/หนังสือเชิญวิทยากร ดังนี้
- ทำหนังสือเชิญวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- ทำหนังสือเชิญวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- ทำหนังสือเชิญวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
- ทำหนังสือเชิญกรรมการตัดสินการประกวด กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๕. นำโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการทั้งหมดทำเรื่องขอยืมเงินทดรองจ่าย โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- กำหนดการ
- คำสั่ง
- หนังสือเชิญวิทยากร
๖. ดำเนินการจัดอบรมกิจกรรม/โครงการหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๓ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร และเวทีกลางแจ้ง สนามลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๙ พฤษภาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๗. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ และข้อเสนอแนะ ดังนี้
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
๘. จัดทำหนังสือขอบคุณวิทยากร หลังจากดำเนินกิจกรรม/โครงการเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
- หนังสือขอบคุณวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- หนังสือขอบคุณวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- หนังสือขอบคุณวิทยากร กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
- หนังสือขอบคุณกรรมการตัดสินการประกวด กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๙. ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- ใบเซ็นชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
- ใบเสร็จรับเงิน/บิลเงินสด
- ใบสำคัญรับเงินวิทยากร
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับจ้าง/ผู้ขาย
๑๐. จัดทำเล่มสรุปผลกิจกรรม/โครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมดในแต่ละกิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
- สรุปผลกิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- สรุปผลกิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากรายนครสวรรค์” เทคนิคขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และการจัดเตรียมส่วนผสมและวัตถุดิบ (ขั้นตอนการตำพริกแกง และเตรียมเครื่องส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง) ขั้นตอนการผสม ปรุงรส และนำไปทอด โดยวิทยากร ๑. อาจารย์นารีรัตน์ บุญลักษณ์ หัวหน้าสาขาวิชาคหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ๒. นางวาสนา พูลเพิ่ม ร้านป้าเฮียะทอดมันปลากราย ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับนาฏยลักษณ์ของระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง ระบำท่าเจดีย์และท่าพระนอน และระบำท่าแจกันและท่าผอบ โดยวิทยากร ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี ๒. อาจารย์กนกพัชร แจ่มฟ้า สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้กับ ครู นักเรียน จากโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์
๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร และเวทีกลางแจ้ง สนามลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบำ รำ ฟ้อนสะท้อนอัตลักษณ์นครสวรรค์ การบูรณาการองค์ความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ของศาสตร์ด้านศิลปะการแสดง และศิลปะการแสดงสะท้อนอัตลักษณ์นครสวรรค์ การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย–ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ โดยวิทยากร ๑. นางสาวสุภัทรสินี ทิพรังศรี วิทยากรจากโรงเรียนนครสวรรค์ ๒. นางสาวศิริลักษณ์ ถึงศรีปั้น วิทยากรจากโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ ๓. นางสาวดวงกมล กองไธสง วิทยากรจากโรงเรียนไพศาลีพิทยา ๔. นางสาวนวลนลา สำเภายนต์ วิทยากรจากโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ๕. นางสาวภัทราภรณ์ แดงชาวนา วิทยากรจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
๔. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๙ พฤษภาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ภายใต้หัวข้อ “๓๒ ปี...วิวรรธน์ สร้างสรรค์...หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” เพื่อใช้เป็นสินค้าหรือของที่ระลึกสำหรับจำหน่าย ให้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับของชำร่วยที่มาจากการสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมประกวดแล้ว ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการคัดสรรจำนวน ๕ ผลงาน ดังนี้
๑.รางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
นางสาวเรืองจอง ณ เมืองยอง วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
๒.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
นายสง่า ชมภูภู่
๓.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ พร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
นายชาตรี วงศ์สายสิน โรงเรียนช่องแคพิทยาคม
๔.รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
นายธีรพงศ์ ธีระพันธ์
๕.รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
นางรัชฎาภรณ์ ตรัยรัตนเมธี ร้านอาง้วนถ่ายเอกสาร นครสวรรค์
๕. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดทำคลิปเสียงบรรยาย ผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน ๗๐ ชิ้นงาน แสดงข้อมูลเนื้อหาเป็นแบบเสียงบรรยายภาษาไทย สำหรับเผยแพร่ประสัมพันธ์ ในส่วนของนิทรรศการ ที่จัดแสดงอยู่ภายในอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้ในการนำบรรยาย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สำหรับรองรับการให้บริการแบบข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เด็กและเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา ครู-อาจารย์ หรือประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ใช้ระบบฐานข้อมูลและสื่อบริการออนไลน์สำหรับเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า และงานบริการด้านการรวบรวมข้อมูล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์
๖. ประชาสัมพันธ์เชิญเข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ – เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้เข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๘๗๕ คน หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสถานที่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม หรือข่าวสารการท่องเที่ยวของภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ทำให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ที่เข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดนครสวรรค์ ในฐานะจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดการตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์
|
|
หลักฐาน
๑-NSRU_OC-๒/๑ สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
๑-NSRU_OC-๒/๒ สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
๑-NSRU_OC-๒/๓ สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
๑-NSRU_OC-๒/๔ สรุปผลกิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๑-NSRU_OC-๒/๕ สรุปผลกิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๑-NSRU_OC-๒/๖ ภาพผู้เข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๑-NSRU_OC-๒/๗ Facebook สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ https://www.facebook.com/culturensru/?ref=embed_page
|
๓ |
กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
ผลดำเนินการ
มีการกำกับติดตามแผนหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ดังนี้
๑. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยรองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายกิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เสนอให้ทราบเป็นประจำทุกเดือน
๒. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เสนอให้ทราบเป็นประจำทุกรอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๓. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ดังนี้
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๖ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๙ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๑๒ เดือน)
การดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน มีดังนี้
รอบ ๖ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๖ โครงการ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ๒ โครงการ
คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๓๓
จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๔ ตัวชี้วัด
บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน ๐ ตัวชี้วัด
คิดเป็นร้อยละ ๐
รอบ ๙ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๖ โครงการ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ๓ โครงการ
คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐
จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๔ ตัวชี้วัด
บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน ๒ ตัวชี้วัด
คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐
รอบ ๑๒ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๖ โครงการ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ๖ โครงการ
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๔ ตัวชี้วัด
บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน ๔ ตัวชี้วัด
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
|
|
หลักฐาน
๑-NSRU_OC-๓/๑ รายงานผลการดำเนินงานแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๑-NSRU_OC-๓/๒ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ , ๒/๒๕๖๗ และ ๓/๒๕๖๗
|
๔ |
ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ และบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
ผลดำเนินการ
มีการประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการ และผลความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผน ดังนี้
กิจรรม/โครงการ |
วัตถุประสงค์ |
ตัวชี้วัด |
๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๒
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
( )
ตัวชี้วัดที่ ๓
( )
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๒
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
( )
ตัวชี้วัดที่ ๓
( )
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๒
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
( )
ตัวชี้วัดที่ ๓
( )
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
๔. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๒
( )
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
( )
ตัวชี้วัดที่ ๓
( )
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
๕. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
(/)
วัตถุประสงค์ที่ ๒
(/)
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๓
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
๖. ประชาสัมพันธ์เชิญเข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ |
(/) วัตถุประสงค์ที่ ๑
(/)
วัตถุประสงค์ที่ ๒
(/)
วัตถุประสงค์ที่ ๓ |
(/) ตัวชี้วัดที่ ๑
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๒
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๓
(/)
ตัวชี้วัดที่ ๔ |
ตัวชี้วัด |
ผลการดำเนินงาน |
จำนวนโครงการ/กิจกรรมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๓ กิจกรรม/โครงการ |
มีการจัดโครงการ/กิจกรรมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๖ กิจกรรม/โครงการ |
ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามวัตถุประสงค์ จากกิจกรรม/โครงการทั้งหมด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ |
ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามวัตถุประสงค์ จากกิจกรรม/โครงการทั้งหมด ร้อยละ ๑๐๐ |
จำนวนผู้ใช้บริการและเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ คน |
จำนวนผู้ใช้บริการและเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑,๘๗๕ คน |
ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ คะแนน |
ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เฉลี่ย ๔.๓๖ คะแนน |
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๖ กิจกรรม/โครงการ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ๖ กิจกรรม/โครงการ
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๔ ตัวชี้วัด
บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน ๔ ตัวชี้วัด
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ข้อเสนอแนะจากผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีดังนี้
๑. ทำการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักศึกษา นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๒. สำนักฯ ควรจัดกิจกรรม/โครงการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
๓. สำนักฯ อาจจะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการมาเยี่ยมชม
๔. สำนักฯ ควรจัดทำเอกสารข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ในรูปแบบออนไลน์
|
|
หลักฐาน
๑-NSRU_OC-๔/๑ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๑-NSRU_OC-๔/๒ สรุปผลการให้บริการห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียรและการเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๑-NSRU_OC-๔/๓ สรุปผลการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
|
๕ |
นำผลการประเมินมาเป็นข้อพิจารณาในการปรับปรุงแผนหรือกิจกรรม/โครงการ
ผลการดำเนินการ
ได้มีการนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
๑. สำนักฯ ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๒. สำนักฯ ได้จัดตั้งงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรม/โครงการการบริการวิชาการ เรื่อง “การถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท”เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
๓. สำนักฯ ได้มีการจัดทำสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code โดยมีการจัดทำคลิปเสียงบรรยาย ผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน ๗๐ ชิ้นงาน แสดงข้อมูลเนื้อหาเป็นแบบเสียงบรรยายภาษาไทย เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเข้าเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๔. สำนักฯ ได้มีการจัดทำเอกสารข้อมูลแบบออนไลน์ในรูปแบบ E-book เช่น แผ่นพับหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ จดหมายข่าว หนังสือศิลปวัฒนวิจักษ์ที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป
|
|
หลักฐาน
๑-NSRU_OC-๕/๑ (ร่าง) แผนการดำเนินงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗
|