:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๖
ตัวบ่งชี้เพื่มเติม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้เพิ่มเติมที่ ๔. จำนวนผลงานสร้างสรรค์และ/หรือจำนวนผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

      ศิลปะ คือ ความงาม คุณค่าของความงามคือการสร้างสรรค์ เป็นสุทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ  โดยศิลปะจะรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน ที่นับเป็นศาสตร์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น
     วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมีความเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม สามารถแสดงออกทาง ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ บางครั้งอาจว่าด้วยการบริโภค ความสัมพันธ์ทางสังคม แนวทางการปฏิบัติ การหลอมรวมอยู่ด้วยกัน
     งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ทางศิลปะประเภทต่าง ๆ ที่มีความเป็นนวัตกรรมโดยมีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมตามประเภทของงานศิลปะซึ่งมีแนวทางการทดลองหรือการพัฒนาจากแนวคิดสร้างสรรค์เดิมเพื่อเป็นต้นแบบหรือความสามารถในการบุกเบิกศาสตร์อันก่อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรีย์ และคุณประโยชน์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพตามการจัดกลุ่มศิลปะของอาเซียนงานสร้างสรรค์ทางศิลปะได้แก่ (๑) ทัศนศิลป์ (Visual Art) ประกอบด้วยผลงานด้านจิตรกรรมประติมากรรมภาพพิมพ์ภาพถ่ายภาพยนตร์สื่อประสมสถาปัตยกรรมและงานออกแบบประเภทอื่นๆ (๒) ศิลปะการแสดง (Performance Arts) ประกอบด้วยดุริยางคศิลป์ นาฏยศิลป์ รวมทั้งการแสดงรูปแบบต่างๆ และ (๓) วรรณศิลป์ (Literature) ซึ่งประกอบด้วยบทประพันธ์และกวีนิพนธ์รูปแบบต่างๆ
     งานวิจัย หมายถึง กระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนในการค้นหาคำตอบของปัญหาหรือการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ตลอดจนถึงการประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าหรือทดลองวิเคราะห์ และตีความข้อมูลตลอดจนสรุปผลอย่างเป็นระบบ



เกณฑ์มาตรฐาน :

         ใช้คะแนนจากจำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างองค์ความรู้ และนำไปถ่ายทอดหรือสามารถสร้างคุณค่าต่อผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (คะแนนเต็ม ๕)


เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕


ผลงาน


ผลงาน


ผลงาน


ผลงาน


ผลงาน




การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ เบอร์โทรภายใน : ๑๔๒๕
  รศ.พรรษประเวศ  อชิโนบุญวัฒน์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๗ 
  ผศ.ดร.เพียงพิศ  ชะโกทอง  
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ บอร์โทรภายใน : ๑๑๓๘
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผลงานสร้างสรรค์และ/หรือจำนวนผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม

   ผลดำเนินการ

   มีผลงานสร้างสรรค์และ/หรือผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้

โครงการ/กิจกรรม

ผลงานสร้างสรรค์

ผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม

โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

๑) ชุดการแสดงวงมหาดุริยางค์ไทย ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ ชุดระบำอาซิ้ม ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยนักเรียนและคุณครู จากโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน  ๑๖ โรงเรียนร่วมกับนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น  ให้กับ โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์  จ.นครสวรรค์
๓) ผลงานสร้างสรรค์ของการประพันธ์ดนตรีที่ส่งเสริมให้การแสดงมีความสนุกสนาน และท่าทางการแสดงของโขนในการแสดงร่วมกับผู้ชมการแสดง ในงานรับรางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ จากกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์ “ดนตรีประกอบการแสดงโขน” ณ ศูนย์วัฒนธรรมบ้านหนองโพ วัดหนองโพ ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
๔) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายกาศ กล่ำน้อย จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๕) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายประจวบ ฟักผล จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ 
๖) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายคำดี ขุนดารา จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๗) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ แสงจันทร์ จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๘) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายมนตรี เผือกจีน จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๙) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาเยาวชนผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วงโปงลางแม่เปิน โรงเรียนอนุบาลแม่เปิน (บ้านตลุกตาสาม) จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๑๐) รางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ สาขาเยาวชนผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ นางสาวกุลนิภา สายนาค จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๑๑) ผลงานการแต่งคำร้องบทเพลงฉ่อยภายใต้หัวข้อขวัญเมืองตาคลี: “ตำนานเมืองพระสังข์ หลวงพ่อดังสามอาจารย์ จันเสนเมืองโบราณ งานตระการถ้าเพชรถ้าทอง” และการนำเสนอผลการขับร้องเพลงฉ่อยดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมโครงการจากกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย
๑๒) ผลงานการการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองในหัวข้อ “พลังวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องในโอกาส ๓๒ ปี หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” จากกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง
๑๓) การนำเสนอสินค้าทางวัฒนธรรม, กิจกรรมวาดสีชอล์คบนพื้นถนน ให้กลายเป็น “ถนนศิลปะ” (Street Art), กิจกรรมเพ้นท์กระเป๋าผ้าดิบ จากกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
๑๔) ชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์สรรค์ จำนวน ๖ ผลงาน ได้แก่
     ๑. ชุดการแสดง “ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง” ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
     ๒. ชุดการแสดง “ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์นครสวรรค์” ของนักเรียนโรงเรียนนครสวรรค์
     ๓. ชุดการแสดง “เริงฤดีวิถีสี่แคว” ของนักเรียนโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
     ๔. ชุดการแสดง “เอกลักษณ์ลูกทุ่งไทย” ของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
     ๕. ชุดการแสดง “นาฏสัตรี ธ บุรีเวสาลี” ของนักเรียนโรงเรียนไพศาลีพิทยา
     ๖. ชุดการแสดง “หน้าม้านารี มณีรัตนา” ของนักเรียนโรงเรียนลาดยาววิทยาคม
จากการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖
ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ ณ เวทีกลางแจ้ง ลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๑๕) ผลงานสร้างสรรค์ จากผู้เข้าร่วมโดยการเขียนลายเส้นลักษณะหน้าตาให้กับตัวละคร การใช้สี ที่ไม่เหมือนกันแสดงถึงความเป็นตัวตนของผู้สร้างสรรค์ผลงาน จากกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น “หุ่นกระบอก” ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๑๖) บทความทางวิชาการ เรื่อง ตาลโตนดภูมิปัญญาสร้างอาชีพและสร้างสรรค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๑๗) บทความทางวิชาการ เรื่อง ความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๑๘) บทความทางวิชาการ เรื่อง การถอดแบบลายผ้าทอกะเหรี่ยง อัตลักษณ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านภูเหม็น “พุเมยง์” ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๑๙) บทความทางวิชาการ เรื่อง เสียงเพรียกจากอดีตสู่ความร่วมสมัยไทย – จีน ประสานเสียงเพลงบอกรัก จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๒๐) บทความทางวิชาการ เรื่อง “สมบัติครู” : ครูบุญสม อินทาปัจ กับคลังความรู้เทปเพลงไทย จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๒๑) บทความทางวิชาการ เรื่อง ไซ-ไฟ สร้างชาติ  จากกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
๒๒) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ “ คนสองวัยใส่ใจวัฒนธรรมประเพณี” จากกิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
๒๓) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงค้นหา ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา วัฒนธรรม และประเพณี จากกิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
๒๔) สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หุ่นกระบอก  แม่เชวงอันทรงคุณค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากกิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
๒๕) สื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมฯ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชมในส่วนของพิพิธภัณฑ์หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์  ได้อย่างทันสมัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
๒๖) ผลงานการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
๒๗) ผลงานการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึกหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้หัวข้อ “๓๒ ปี...วิวรรธน์ สร้างสรรค์...หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์”
- รางวัลชนะเลิศ ชื่อผลงาน  วิวรรธน์ธารา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ชื่อผลงาน  เรือจำลอง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ชื่อผลงาน  ผลึกวัฒนธรรม
- รางวัลชมเชย ชื่อผลงาน เปเปอร์มาเช่-ปลาเสือตอ
- รางวัลชมเชย ชื่อผลงาน สมุดโน็ตถนอมสายตา
๒๘) ผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี  หัวข้อการประกวด “๑๐๒ ปี มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม พลิกโฉมท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน”
๒๙) ผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ต้นแบบหุ่นกระบอกแบบสร้างสรรค์

 



 

หลักฐาน
๔-NSRU_OC-๑/๑  ภาพถ่ายชุดการแสดงวงมหาดุริยางค์ไทย ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ ชุดระบำอาซิ้ม
๔-NSRU_OC-๑/๒  ภาพถ่ายแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์  จ.นครสวรรค์
๔-NSRU_OC-๑/๓  ภาพถ่ายกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์ และการแสดงของโขน ในงานรับรางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗
๔-NSRU_OC-๑/๔  ภาพถ่ายรางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗
๔-NSRU_OC-๑/๕  ภาพถ่ายกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย
๔-NSRU_OC-๑/๖  ภาพถ่ายกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง
๔-NSRU_OC-๑/๗  ภาพถ่ายกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
๔-NSRU_OC-๑/๘  ภาพถ่ายชุดการแสดงนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์มาจากภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์สรรค์
๔-NSRU_OC-๑/๙  ภาพถ่ายกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น “หุ่นกระบอก”
๔-NSRU_OC-๑/๑๐  บทความทางวิชาการ เรื่อง ตาลโตนดภูมิปัญญาสร้างอาชีพและสร้างสรรค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน
๔-NSRU_OC-๑/๑๑  บทความทางวิชาการ เรื่อง ความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ
๔-NSRU_OC-๑/๑๒  บทความทางวิชาการ เรื่อง การถอดแบบลายผ้าทอกะเหรี่ยง อัตลักษณ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยง บ้านภูเหม็น “พุเมยง์” ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
๔-NSRU_OC-๑/๑๓  บทความทางวิชาการ เรื่อง เสียงเพรียกจากอดีตสู่ความร่วมสมัยไทย – จีน ประสานเสียงเพลงบอกรัก
๔-NSRU_OC-๑/๑๔  บทความทางวิชาการ เรื่อง “สมบัติครู” : ครูบุญสม อินทาปัจ กับคลังความรู้เทปเพลงไทย
๔-NSRU_OC-๑/๑๕  บทความทางวิชาการ เรื่อง ไซ-ไฟ สร้างชาติ 
๔-NSRU_OC-๑/๑๖  สื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ผ่านยูทูปของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อ สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU https://www.youtube.com/@artsandculturensru 8256
๔-NSRU_OC-๑/๑๗  ภาพถ่ายสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมฯ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๔-NSRU_OC-๑/๑๘  ภาพถ่ายการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
๔-NSRU_OC-๑/๑๙  ภาพถ่ายผลงานการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึกหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้หัวข้อ “๓๒ ปี...วิวรรธน์ สร้างสรรค์...หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์”
๔-NSRU_OC-๑/๒๐  ภาพถ่ายผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี  หัวข้อการประกวด “๑๐๒ ปี มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม พลิกโฉมท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน”
๔-NSRU_OC-๑/๒๑  ภาพถ่ายผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น


 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
-
-
-
-
 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๕ ผลงาน
๒๙ ผลงาน
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๕ ผลงาน