:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๖
องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจกลุ่มสถาบัน            
และเอกลักษณ์ของสถาบัน
          
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

     
          สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม
และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องดำเนินงาน
ผ่านสำนัก ดังนั้นสำนักต้องมีการพัฒนาแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของสำนัก
ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและกลุ่มสถาบันตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยง
และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้


เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

       
    ๑. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนัก
    และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและ
    เอกลักษณ์ของสำนัก และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการ
    ประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และ
    เสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    ๒. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น
    จากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของ
    สำนักและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย ๑ เรื่อง
    ๓. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการที่อธิบายการดำเนินงาน
    อย่างชัดเจน
    ๔. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และ
    แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและ
    วัฒนธรรม และด้านการบริหารจัดการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์
    อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
    ๕. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ
    และสายสนับสนุน
    ๖.ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและ
    สอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกัน
    คุณภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ
    การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ                     
                    

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ

มีการดำเนินการ

๓ ข้อ

มีการดำเนินการ

๔-๕ ข้อ

มีการดำเนินการ

๖ ข้อ



การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ : ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ เบอร์โทรภายใน : ๑๔๒๕
  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๗ 
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๘
     
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน

พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก/สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสำนัก และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

     ผลดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และบุคลากร ตั้งแต่การทบทวนผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณที่ผ่านมา  มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรทั้งภายใน-ภายนอก เพื่อกำหนด กลยุทธ์ และทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อนำผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรไปใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
   ๑. สำนักฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานสำหรับจัดทำและพัฒนาแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและแผนปฏิบัติการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
   ๒. สำนักฯ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกคนร่วมกันวิเคราะห์สภาวะองค์กร หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของสำนักฯ  และนำไปสู่การจัดทำรายงานการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร  กำหนดกลยุทธ์ และทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสำนักฯ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และสอดคล้องตามกรอบแผนอุดมศึกษาและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ  ซึ่งจากการวิเคราะห์ SWOT และการจัดทำ TOWS Matrix มีดังนี้

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายใน

ประเด็น

จุดแข็ง (S)

จุดอ่อน (W)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

๑. มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้แก่ นักศึกษา บุคลากร และชุมชนท้องถิ่น
๒. มีการส่งเสริมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ
๓. มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมวันสำคัญของชาติ และวันสำคัญทางศาสนา เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๔. มีการจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการเพื่อมอบองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม หรือถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
๕. การจัดโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมมีรูปแบบที่หลากหลาย

๑. การสนับสนุนงบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม
๒. จำนวนบุคลากรยังไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม
๓. การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
๔. การบริหารจัดการดำเนินโครงการ/กิจกรรมมีความยืดหยุ่นน้อย
๕. การจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการยังไม่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างครบถ้วน ไม่ครอบคลุมทุกศาสตร์ สาขา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. มีหอวัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่การเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป
๒. มีการค้นคว้า รวบรวมองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. มีเอกสาร ข้อมูลองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สาธารณชน
๕. มีการส่งเสริมการจัดทำแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการสืบสาน และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

๑. พื้นที่ภายในหอวัฒนธรรมมีขนาดเล็กทำให้รองรับผู้เข้าเยี่ยมชมได้จำนวนน้อย
๒. สื่อนิทรรศการภายในหอวัฒนธรรมยังไม่เพียงพอ และยังไม่มีเส้นทางในการนำเยี่ยมชมหอวัฒนธรรม
๓. งบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาหอวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ยังไม่เพียงพอ
๔. องค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมยังไม่ครอบคลุมทุกศาสตร์ ทุกสาขา
๕. การประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน
๒. มีองค์ความรู้ที่เกิดจากโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรม
๓. มีการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับคนในชุมชน
๔. มีหน่วยงานภายในที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๕. มีผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถสร้างประโยชน์หรือมูลค่าเพิ่มให้กับคนในชุมชน

๑. โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมยังไม่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนทุกด้าน
๒. การจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมบางครั้งใช้ระยะเวลานานทำให้การดำเนินงานบางครั้งไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
๓. บุคลากรมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ทำให้การจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมบางครั้งไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
๔. ผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน
๕. จำนวนผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมยังมีจำนวนน้อย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. มีการสร้างระบบฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบออนไลน์
๒. มีระบบ Digital Library ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล e-book หนังสือองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และวีดีโอที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์
๓. มีระบบฐานข้อมูลวัดในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของบุคคลทั่วไป
๔. มีเว็บไซต์นครสวรรค์ศึกษา ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลความรู้เกี่ยวกับจังหวัดนครสวรรค์ 
๕. มีระบบฐานข้อมูลออนไลน์ คิวอาร์โค้ด QR Code สำหรับเผยแพร่ประสัมพันธ์ในส่วนของจุดแสดงนิทรรศการ และวัตถุโบราณ ภายในหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์

๑. ระบบฐานข้อมูลยังไม่เป็นสื่อสากล
๒. ระบบสารสนเทศยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึง
๓. ข้อมูลในระบบสารสนเทศบางส่วนยังไม่สมบูรณ์
๔. ข้อมูลในระบบสารสนเทศยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน
๕. ข้อมูลในระบบสารสนเทศบางส่วนยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๑. มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานภายใน
๒. มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
๓. มีความร่วมมือจากหน่วยงานและบุคลากรภายในในการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม
๔. มีที่ปรึกษาในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากหน่วยงานภายใน

๑. การประสานงานในการจัดโครงการ/กิจกรรมบางครั้งยังมีข้อจำกัด
๒. วัสดุ อุปกรณ์ในโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือบางครั้งมีจำนวนไม่เพียงพอ
๓. การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายในบางครั้งยังมีข้อผิดพลาด
๔. การประสานงานและการสื่อสารล่าช้าในบางเรื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล

๑. บุคลากรมีความรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี มีความร่วมมือในการดำเนินงาน ทำงานเป็นทีม
๒. มีโครงสร้างองค์กรที่มีแบบแผนเป็นระบบที่ชัดเจน และเน้นการมีส่วนร่วม
๓. มีขอบเขตการทำงาน และกำหนดบทบาทภาระหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรไว้อย่างชัดเจน
๔. มีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน สอดคล้องและครอบคลุมยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
๕. มีระบบปฏิบัติงานที่มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบการทำงานได้
๖. ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา สนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคลากร

๑. บุคลากรยังไม่ครอบคลุมทุกตำแหน่งงาน
๒. นโยบายการเบิกจ่ายของมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
๓. การเบิกจ่ายบางอย่างเกิดความล่าช้าเนื่องจากรายละเอียดในการเบิกจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
๔. การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงานโครงการ/กิจกรรมที่วางไว้
๕. การดำเนินงานยังไม่ตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน
๖. นโยบายการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยยังไม่ชัดเจน

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอก

ประเด็น

โอกาส (O)

อุปสรรค (T)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

๑. จังหวัดมีนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการร่วมกัน
๒. โครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอกในเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
๓. ได้รับความร่วมมือจากวิทยากร หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีที่ปรึกษาทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สามารถให้ความรู้ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้

๑. นโยบายมหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
๒. บุคลากรที่ดำเนินงานประสานงานในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย และมีภาระงานจำนวนมาก จึงไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
๓. การนำผลการบริการวิชาไปพัฒนางานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน
๔. คนรุ่นใหม่ยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
๒. อยู่ในแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถศึกษาข้อมูลได้จากภายนอก
๔. มีปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน นักวิชาการจากภายนอกในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม

๑. ขาดการสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
๒. เยาวชนมีความสนใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมในอดีตน้อย
๓. หน่วยงานในระดับท้องถิ่น คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. ยังไม่มีพื้นที่ทางโบราณคดี ศิลปกรรมท้องถิ่น ที่โดดเด่น ชัดเจน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. มีหน่วยงานภายนอกที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. มีองค์ความรู้จากภายนอกที่เกิดจากโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถนำมาศึกษาข้อมูลได้
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน
๔. มีตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

๑. หน่วยงานภายนอกมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมได้ในบางครั้ง
๓. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
๔. การประสานงานกับชุมชนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๑. มีระบบฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากภายนอกที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้
๒. มีระบบสารสนเทศที่หลากหลายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้
๓. มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีระบบฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมภายนอกที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
๕. มีช่องทางที่หลากหลายในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล

๑. ประชาชนให้ความสนใจในการสืบค้นข้อมูลด้านเทคโนโลยีวัฒนธรรมน้อย
๒. เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ประชาชนมีความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมน้อย
๓. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่เป็นปัจจุบัน
๔. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
๕. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

๑. มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอก
๒. มีองค์กรภายนอกในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมร่วมกัน
๓. มีการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายนอก
๔. สามารถของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากเครือข่ายความร่วมมือภายนอก

๑. การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกขาดความต่อเนื่องเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร
๒. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดโครงการ/กิจกรรมบางครั้งยังมีข้อจำกัด
๓. การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกบางครั้งยังมีข้อผิดพลาด
๔. การประสานงานและการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกล่าช้าในบางเรื่อง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล

๑. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถานศึกษา
๒. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
๔. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ

๑. นโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลยังขาดความยืดหยุ่น
๒. การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
๓. ขาดระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่เชิงพาณิชย์
๔. มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน

สรุปการวิเคราะห์ค่าน้ำหนัก คะแนน ประเด็นสภาพแวดล้อมภายใน

ประเด็น

น้ำหนัก

สรุปผลการวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมภายใน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑

๐.๑๗

๐.๐๓

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒

๐.๑๗

-๐.๐๔

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓

๐.๑๗

-๐.๐๒

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔

๐.๑๗

๐.๐

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕

๐.๑๖

๐.๐๖

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖

๐.๑๖

๐.๐๕

รวม

๑.๐๐

๐.๐๘

สรุปการวิเคราะห์ค่าน้ำหนัก คะแนน ประเด็นสภาพแวดล้อมภายนอก

ประเด็น

น้ำหนัก

สรุปผลการวิเคราะห์

สภาพแวดล้อมภายนอก

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑

๐.๑๗

๐.๐๒

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒

๐.๑๗

๐.๐๓

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓

๐.๑๗

๐.๐

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔

๐.๑๗

-๐.๐๓

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕

๐.๑๖

๐.๐๑

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖

๐.๑๖

-๐.๐๒

รวม

๑.๐๐

๐.๐๑

กราฟวิเคราะห์ตำแหน่งยุทธศาสตร์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
 

      สถานภาพของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ในตำแหน่ง STARS “เอื้อและแข็ง” SO (ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส) เนื่องจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการที่จะช่วยลดอุปสรรคจากภายนอก รวมทั้งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาในองค์กร ซึ่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีหอวัฒนธรรมที่ช่วยในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์

การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ SWOT analysis  (TOWS Matrix)

SO Strategies
(รุกไปข้างหน้า)

WO Strategies
(พัฒนาภายใน)

๑. จัดโครงการ/กิจกรรมวันสำคัญของชาติ และวันสำคัญทางศาสนา อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๒. จัดโครงการ/กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป
๓. พัฒนาหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๕. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๖. จัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๗. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในหอวัฒนธรรม  จังหวัดนครสวรรค์ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ
๘. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านศิลปวัฒนธรรม ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุม
๙. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลาย

๑. ของบประมาณสนับสนุนการจากชุมชน หน่วยงานภายใน ภายนอก ในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาหอวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้
๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานที่หลากหลายด้าน
๓. สร้างความร่วมมือจากหน่วยงานภายในหรือภายนอกในด้านบุคลากร สำหรับการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ ร่วมกัน
๔. ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านได้ถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้ครอบคลุมทุกด้าน
๖. สร้างรูปแบบการติดตาม ตรวจสอบผลการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงผลการนำไปใช้ประโยชน์
๗. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีการจัดทำหลายภาษา
๘. จัดโครงการ/กิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับบุคลากรในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
๙. ทำการสำรวจความต้องการในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดโครงการ/กิจกรรม

ST Strategies
(สร้างพันธมิตร)

WT Strategies
(ปรับเปลี่ยน)

๑. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมให้ความรู้กับบุคคลภายนอก เยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
๒. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป
๓. ปรับปรุงหอวัฒนธรรมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์
๔. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ แล้วนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลความรู้
๖. สร้างความร่วมมือกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมในการพัฒนางานร่วมกัน
๗. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ
๘. ทำการวางแผนการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในแต่ละไตรมาสโดยมอบหมายให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในแต่ละโครงการ/กิจกรรม
๙. พัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

๑. ของบประมาณสนับสนุนจากภายนอกในการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม และปรับปรุงหอวัฒนธรรมจังหวัดนคสวรรค์
๒. สนับสนุนกิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ความรู้กับบุคคลภายนอก เยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
๓. พัฒนาบุคลากรที่มีอยู่โดยส่งไปอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ
๔. สร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ
๕. จัดทำระบบและกลไกในการติดตาม ตรวจสอบผลการบริการวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงผลการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม
๖. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
๗. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นสื่อสากล
๘. ปรับปรุงข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
๙. วางแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้มีความละเอียด ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     ผลการวิเคราะห์ SWOT นำไปสู่การปรับเปลี่ยน ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ของสำนักฯ ให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานมากขึ้น ดังนี้
      ปรัชญา (คงเดิม)
      ศิลปวัฒนธรรมเป็นรากฐานความเข้มแข็งของท้องถิ่น
      วิสัยทัศน์ (คงเดิม)
      แหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมชั้นนำของท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
      พันธกิจ (คงเดิม)
      ๑. สืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
      ๒. ส่งเสริมการเรียนรู้และการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๓. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๔. พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๕. สร้างภาคีเครือข่ายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      ๖. ยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ด้วยหลักธรรมาภิบาล
      ประเด็นยุทธศาสตร์ (คงเดิม)
      ๑. การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
      ๒. การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๓. การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๔. การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๕. การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      ๖. การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
      เป้าประสงค์ (คงเดิม)
      ๑. นักศึกษา บุคลากร และชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
      ๒. มีแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
      ๓. องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการค้นคว้า รวบรวมตามหลักวิชาการ และได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน
      ๔. มีผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่สร้างประโยชน์หรือมูลค่าเพิ่มให้ชุมชนท้องถิ่น
      ๕. มีการพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ๖. มีภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับองค์กรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
      ๗. มีการบริหารจัดการงานที่ดีมีคุณภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
      เอกลักษณ์
      ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

      ความเชื่อมโยงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) สร้างระบบนิเวศการวิจัย และนวัตกรรมเชิงพื้นที่
      เป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น
      กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) สร้างระบบนิเวศการวิจัย และนวัตกรรมเชิงพื้นที่
      เป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น
      กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น     
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) สร้างระบบนิเวศการวิจัย และนวัตกรรมเชิงพื้นที่
      เป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น
      กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) สร้างระบบนิเวศการวิจัย และนวัตกรรมเชิงพื้นที่
      เป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น
      กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) สร้างระบบนิเวศการวิจัย และนวัตกรรมเชิงพื้นที่
      เป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น
      กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริมการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ ในชุมชนท้องถิ่น

      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
      ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
      ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การยกระดับความเป็นธรรมาภิบาลและการจัดการแบบพลิกโฉมมหาวิทยาลัยใหม่ (Re-inventing) เพื่อสร้างสัมฤทธิผลและความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้านการบริหารจัดการ (System based Transformation)
      เป้าประสงค์ที่ ๔.๓ ระบบการบริหารมหาวิทยาลัยมีความเป็นธรรมาภิบาลในทุกระดับ
      กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อสร้างสมรรถนะและศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง
   ๓. เมื่อมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติการ ๔ ปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๗) เรียบร้อยแล้ว สำนักฯ ได้แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗ และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ โดยมีการกำหนดกิจกรรม/โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผน
   ๔. มีการนำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติการ ๔ ปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๗) , แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗ , แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
   ๕. มีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และติดตามผลการใช้งบประมาณผ่านรายงานสรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ดังนี้
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๖ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๙ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ (รอบ ๑๒ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมดุสิตา อาคาร ๑๔ ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๙ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ (รอบ ๑๒ เดือน)
      การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖  รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน มีดังนี้
      รอบ ๖ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๕ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๒๓ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๗๑
      ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๑ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๗๕    
      งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๑,๑๙๑,๖๓๓.๖๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๖๒
      รอบ ๙ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๕ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๓๐ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๗๑
      ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๕ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๗๕    
      งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๑,๗๖๓,๓๖๕.๖๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๘ 
      รอบ ๑๒ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๕ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๓๕ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
      ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
      งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๒,๓๐๔,๗๓๗.๖๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๘๓
   ๖. ได้มีการนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี หรือกิจกรรม/โครงการ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
        ๖.๑ มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
        ๖.๒ มีการจัดกิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
        ๖.๓ มีการจัดกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
        ๖.๔ มีการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์
        ๖.๕ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
        ๖.๖ มีการจัดกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
        ๖.๗ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฎิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
        ๖.๘ มีการจัดกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
        ๖.๙ มีการจัดกิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖
        ๖.๑๐ มีการจัดกิจกรรมสืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
        ๖.๑๑ มีการจัดกิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึกหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
        ๖.๑๒ มีการจัดกิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมฯ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
        ๖.๑๓ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย"
        ๖.๑๔ มีการจัดกิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
        ๖.๑๕ มีการจัดกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์
        ๖.๑๖ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เพลงฉ่อย"
        ๖.๑๗ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
        ๖.๑๘ มีการจัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
        ๖.๑๙ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง

 

 

 

หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๒  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๓  การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทบทวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน แผนปฏิบัติการประจำปี แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และแผนจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๔  การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทบทวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน แผนปฏิบัติการประจำปี แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ และแผนจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๕  การวิเคราะห์สภาวะองค์กร กำหนดกลยุทธ์ และการทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ โดยการวิเคราะห์ SWOT ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๖  แผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติการ ๔ ปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๗)
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๗  แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน ๔ ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๘  แผนปฏิบัติการสำนักศิลปะและวัฒนธรรมประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๙  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ , ๔/๒๕๖๖ , ๕/๒๕๖๖ และ ๖/๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๐  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ และ ๒/๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๑  บันทึกข้อความการพิจารณาอนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปี โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๒ รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๑/๑๓  รายงานสรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน

ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย ๑ เรื่องม

     ผลดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีแนวทางการจัดการความเสี่ยง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการจัดการความเสี่ยงและควบคุมภายในตามแบบ COSO-ERM โดยมีดำเนินการ ดังนี้
   ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ โดยมีการกำหนดนโยบาย และจัดทำปฏิทินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน
   ๒.สำนักฯได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้บุคลากรร่วมกันการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงผลกระทบและแนวทางการป้องกันความเสี่ยงปีงบประมาณ๒๕๖๖ (RM ๑) เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อมูลแผนการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
   ๓. นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง ผลกระทบ และแนวทางการป้องกันความเสี่ยง มาจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ มีการระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายในการบริหารงาน และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง  โดยมีความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และภายใน ดังนี้

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

ระดับความเสี่ยง (คะแนน)

โอกาส

ความรุนแรง

ระดับ

ด้านที่ ๖ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มากระทบ

๑. ศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป

๑. เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ขาดความสนใจในศิลปวัฒนธรรมไทย อีกทั้ง ยังขาดการสืบทอด ดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป

๒๐
(สูงมาก)

ด้านที่ ๑ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ของสถาบัน/หน่วยงาน

๒. การดำเนินงานตามกลยุทธ์ของหน่วยงานไม่เป็นไปตามแผน

๒. นโยบายการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน


(ปานกลาง)

ด้านที่ ๔ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

๓. การเบิกจ่ายงบประมาณเกิดความล่าช้า

๓. บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น


(ปานกลาง)

   ๔.มีการนำข้อมูลแผนบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ๒๕๖๖ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาอนุมัติ
   ๕. มีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่ระบุปัจจัยเสี่ยง และแนวทางการป้องกัน/แก้ไขความเสี่ยง (RM ๒) ดังนี้
       ๕.๑ ศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป เนื่องจาก เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ขาดความสนใจในศิลปวัฒนธรรมไทย อีกทั้ง ยังขาดการสืบทอด ดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป
       วัตถุประสงค์ของการควบคุม
       เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ให้คงอยู่สืบไป
       ตัวชี้วัด (KPI) โครงการ/กิจกรรม
       มีการจัดโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น ๑ กิจกรรม/โครงการ
       แนวทางการป้องกัน/แก้ไขความเสี่ยงและวัตถุประสงค์ของการควบคุม
       ๑. จัดโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
       ๒. จัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
       ๓. จัดทำสื่อมัลติมีเดีย ข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
       การควบคุมความเสี่ยง
       ๑. มีการจัดโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          - กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมชอนตะวัน ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๒. มีการจัดทำเอกสารองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน
       ๓. มีการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
   ๖.มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยงปีงบประมาณ๒๕๖๖ โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
   ๗. มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ มีการดำเนินการลด/ควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ลดลง (RM ๓ , RM ๔) ดังนี้
       ๗.๑ ศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป เนื่องจาก เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ขาดความสนใจในศิลปวัฒนธรรมไทย อีกทั้ง ยังขาดการสืบทอด ดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป
       ผลของการดำเนินงาน
       ๑. มีการจัดโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          - กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมชอนตะวัน ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       ๒. มีการจัดทำองค์ความรู้ เรื่อง การเรียบเรียงดนตรีไทยพื้นบ้านสู่ความร่วมสมัยในแบบดนตรีตะวันตก โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชญา  กัญจา  อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
       ๓. มีการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ผ่านช่องทางยูทูปของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อ สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU   https://www.youtube.com/@artsandculturensru๘๒๕๖/featured
       การประเมินผลการควบคุม
       มีการจัดโครงการ/กิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น ๑ กิจกรรม/โครงการ       
       มีการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน ๑ เรื่อง
       มีการมีการจัดทำสื่อมัลติมีเดีย เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน ๑ เรื่อง        

      สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม
      ผลของเป้าหมาย : บรรลุ /

สถานภาพการดำเนินการ

การตอบสนองความเสี่ยง

ดำเนินการแล้ว

ความเสี่ยงลดลง


ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

ระดับความเสี่ยง (คะแนน)

โอกาส

ความรุนแรง

ระดับ

ด้านที่ ๖ ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มากระทบ

๑. ศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป

๑. เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ขาดความสนใจในศิลปวัฒนธรรมไทย อีกทั้ง ยังขาดการสืบทอด ดนตรีไทยพื้นบ้าน ที่กำลังจะสูญหายไป

(ปานกลาง)

ด้านที่ ๑ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ของสถาบัน/หน่วยงาน

๒. การดำเนินงานตามกลยุทธ์ของหน่วยงานไม่เป็นไปตามแผน

๒. นโยบายการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน


(น้อย)

ด้านที่ ๔ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

๓. การเบิกจ่ายงบประมาณเกิดความล่าช้า

๓. บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น


(น้อย)


      ผลการดำเนินการควบคุมความเสี่ยง ทำให้ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งช่วยอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน ให้คงอยู่กับชุมชนต่อไป ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ทราบถึงความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีไทยพื้นบ้าน 


 

หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑  คำสั่งสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๒  นโยบายความเสี่ยงของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๓  ปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๔  การประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แผนบริหารความเสี่ยง และแผนกลยุทธ์ด้านการเงิน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๕  แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๖  รายงานผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๗  สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม การบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๘  กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมชอนตะวัน ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๙  องค์ความรู้ เรื่อง การเรียบเรียงดนตรีไทยพื้นบ้านสู่ความร่วมสมัยในแบบดนตรีตะวันตก โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชญา  กัญจา  อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๐  สื่อศิลปวัฒนธรรมออนไลน์ เกี่ยวกับดนตรีไทยพื้นบ้าน ช่อง youtube สถานีวัฒนธรรม arts and culture https://www.youtube.com/@artsandculturensru๘๒๕๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๑  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ , ๔/๒๕๖๖ , ๕/๒๕๖๖ และ ๖/๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๒  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ และ ๒/๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๒/๑๓  แผนบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๗



บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

     ผลดำเนินการ

   ผู้บริหารสำนักฯ บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ตามความในมาตรา ๓/๑ ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี และสังคมที่ดี  พ.ศ. ๒๕๔๖  ดังนี้
   ๑. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
   ผู้บริหารสำนักฯ บริหารงานโดยมุ่งเน้นผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการ มีการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ กระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามแผนฯ พร้อมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้รับทราบ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนัก มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
   ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
   รอบ ๖ เดือน
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๓ กิจกรรม/โครงการ
   มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๒๓ กิจกรรม/โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๗๑
   จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๑๖ ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๑๑ ตัวชี้วัด
   ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๖๘.๗๕   
   รอบ ๙ เดือน
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๓ กิจกรรม/โครงการ
   มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๓๐ กิจกรรม/โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๗๑
   จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๑๖ ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๑๕ ตัวชี้วัด
   ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๙๓.๗๕
   รอบ ๑๒ เดือน
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๕ กิจกรรม/โครงการ
   มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๓๕ กิจกรรม/โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
   จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๑๖ ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด
   ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
   ๒. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
   ผู้บริหารสำนักฯ กำกับติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรในแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการบริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดโดยมีการจัดทำการสรุปผลการใช้งบประมาณประจำปี  และมีการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณตามประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักฯ
   ผู้บริหารสำนักฯ กำกับติดตามผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ผลการใช้งบประมาณประจำปี ผ่านระบบบริหารงบประมาณ การเงินและการบัญชี http://๓dgf.nsru.ac.th/
   ผลการบริหารงานงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ มีการบริหารเบิก-จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนงาน และระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดังนี้
   รอบ ๖ เดือน
   งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท
   งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน ๑,๑๙๑,๖๓๓.๖๐ บาท
   ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ  ร้อยละ ๕๑.๖๒
   รอบ ๙ เดือน
   งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท
   งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน ๑,๗๖๓,๓๖๕.๖๐ บาท
   ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ  ร้อยละ ๗๖.๓๘
   รอบ ๑๒ เดือน
   งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน ๒,๓๐๘,๖๐๐ บาท
   งบประมาณที่เบิกจ่าย จำนวน ๒,๓๐๔,๗๓๗.๖๐ บาท
   ร้อยละความสำเร็จของการบริหารงบประมาณ  ร้อยละ ๙๙.๘๓
   ๓. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)  
   มีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ได้แก่ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่บุคลากร ชุมชน และประชาชนทั่วไป โดยจัดกิจกรรม/โครงการที่ตอบสนองความต้องการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมกับบุคคลภายในและภายนอก ดังนี้ 
      ๑. กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์” วันเสาร์ที่ ๒๕  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๔. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวันพุธที่  ๒๔ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๕. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร และเวทีกลางแจ้ง สนามลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
      ๖. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง" ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ  ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๗. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  
      ๘. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา อำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท 
      ๙. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์ วันอังคารที่  ๑๙  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๖๗  ณ ศูนย์วัฒนธรรมบ้านหนองโพ วัดหนองโพ  ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
      ๑๐. กิจกรรมการอบรมการเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่  ๒๙ – ๓๐  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๖๗  ณ ห้องประชุมชอนตะวัน ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
      ๑๑. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์) ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗  ณ หอประชุม โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
      ๑๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี วันศุกร์ที่  ๒๔  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ  ห้องประชุม ๑๑๑๒ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   มีการให้บริการที่หลากหลายกับคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่บุคลากร ชุมชน และประชาชนทั่วไป และมีหลากหลายช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
      - บันทึกข้อความ ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
      - โทรศัพท์ : ๐๕๖-๒๑๙๑๐๐ ต่อ ๑๑๓๘
      - โทรสาร : ๐๕๖-๒๑๙๑๐๐ ต่อ ๑๑๓๘
      - e-mail : artculture@nsru.ac.th
      - เว็บไซต์ : http://artculture.nsru.ac.th/  
      - Facebook : www.facebook.com/culturensru
      - YouTube : สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU https://www.youtube.com/
@artsandculturensru8256
   ๔. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)  
   ผู้บริหารได้ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบด้านการบริหาร ดังนี้
      ๑. มีการกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ผ่านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และผลการดำเนินงานของหน่วยงาน และมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดการดำเนินงานของหน่วยงานไปสู่บุคลากร เพื่อการปฏิบัติงานที่บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี
      ๒. หน้าที่ขององค์กรที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุความสำเร็จ ได้แก่
             ๒.๑ ดำเนินงานตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมบรรลุความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้
             ๒.๒ ดำเนินงานตามผลการปฏิบัติราชการประจำปีบรรลุความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้
             ๒.๓ ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
             ๒.๔ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับมอบหมายบรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
             ๒.๕ ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในส่วนสำนักฯ และมหาวิทยาลัยด้านด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
      ๓. ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บุคลากร ได้มีการให้เจ้าหน้าที่บุคลากรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล ดังนี้
             ๓.๑ นายปริญญา  จั่นเจริญ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ (กลุ่มงานหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น) จัดทำคู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการ พิธีกรรม และคู่มือปฏิบัติงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
             ๓.๒ นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ นักวิชาการศึกษา (งานประกันคุณภาพการศึกษา และแผนงาน) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
             ๓.๓ นางช่อลัดดา  คันธชิต เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานการเงินและพัสดุ) จัดทำคู่มือกระบวนการ ขั้นตอนเบิกจ่ายงบประมาณ
             ๓.๔ นางสาวณัฐนรี  แสงสุข เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานคอมพิวเตอร์) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านงานคอมพิวเตอร์
      ๔. ด้านกฎหมายมีการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของราชการ และของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อย่างเคร่งครัด
      ๕. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ให้บุคคลและสังคมภายนอกทราบถึงบริบท หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตามพันธกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักฯ https://artculture.nsru.ac.th/
   ๕. หลักความโปร่งใส (Transparency)
   ผู้บริหารส่งเสริมให้หน่วยงานปฏิบัติหน้าที่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยจากผู้รับบริการ และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรีทุกขั้นตอน ในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่าง ๆ และสามารถตรวจสอบได้ มีตัวอย่างการปฏิบัติ ดังนี้
      ๑. มีการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหาร ซึ่งบุคคลภายนอกจะได้ทราบทุกขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของสำนัก และสามารถตรวจสอบการทำงานได้ ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักฯ https://artculture.nsru.ac.th/
      ๒. จัดให้มีการเข้ารับการตรวจสอบ ตรวจทานการปฏิบัติงาน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานฯ การเผยแพร่ข้อมูลตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
      ๓. จัดให้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ที่จำเป็นและสำคัญแจ้งให้แก่ผู้รับบริการของหน่วยงานทราบอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารจดหมายข่าว แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผนผังขั้นตอนการปฏิบัติงาน สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ Facebook YouTube Line
   ๖. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
   หน่วยงานเปิดโอกาสให้ ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา /ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการพัฒนา ดังนี้
      ๑. มีการจัดตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมโดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก ๕ คณะ ผู้แทนจากกองพัฒนานักศึกษา และบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในภาพรวมของมหาวิทยาลัย และในภาพรวมของคณะ
      ๒. เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน การวางแผนงาน ตลอดจนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานตามพันธกิจของหน่วยงาน ในลักษณะของคณะกรรมการประจำสำนักฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากภายนอกหน่วยงาน คณะกรรมการดำเนินงานในกิจกรรม /โครงการต่าง ๆ
      ๓. เปิดโอกาสให้บุคลากรได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญ มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการ พัฒนาแผนงานหรืองานด้านต่าง ๆ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อร่วมคิดแนวทาง หรือร่วมการแก้ไขปัญหา
      ๔. จัดให้มีสอบถามข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความต้องการในงานตามพันธกิจหลัก จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อการพัฒนาหน่วยงานให้สามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการของหน่วยงานผ่านช่องทางต่าง ๆ
   ๗. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
   หน่วยงานมีการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจทรัพยากร และภารกิจ รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของหน่วยงาน มีการปฏิบัติตามหลักการกระจายอำนาจ ดังนี้
      ๑. มีการบริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัย โดยสำนักมี ๔ กลุ่มงาน มีการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อดูแลรับผิดชอบภารกิจของกลุ่มงาน โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการแต่ละฝ่ายกำกับดูแลแต่ละกลุ่มงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก
      ๒. แต่งตั้งและมอบหมายให้ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการฯ ควบคุม กำกับ และตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานผู้อำนวยการ
      ๓. แต่งตั้งและมอบหมายงานแก่บุคลากร ในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของสำนัก เพิ่มการกระจายอำนาจการตัดสินใจ มีการมอบหมายงานต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ให้มีอำนาจการตัดสินใจในเบื้องต้น
      ๔. มีการมอบอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ภายในหน่วยงาน ให้แก่เจ้าของหรือผู้รับผิดชอบโครงการนั้น ๆ
   ๘. หลักนิติธรรม (Rule of Law)
   ผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ และขับเคลื่อนงานของสำนักตามกรอบของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และผู้บริหาร บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่
      ๑. มีการบริหารงานของคณะผู้บริหาร ภายใต้อำนาจที่ได้รับมอบจากมหาวิทยาลัย
      ๒. มีการใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ในการแต่งตั้งคณะทำงานในกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของหน่วยงาน  
      ๓. การดำเนินงานด้านการบริหารหน่วยงาน ดำเนินการภายใต้ พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัยฯ
   ๙. หลักความเสมอภาค (Equity)
   ผู้บริหารสำนักฯ มีนโยบายที่ชัดเจนในการให้ความเสมอภาคต่อการบริหารงานภายในสำนักฯ โดยรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในทุกระดับ รวมทั้งผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็น พันธกิจสำคัญในการให้บริการต่อนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร และประชาชนทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่
      ๑. มีระบบให้บริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค ในการแสดงความคิดเห็น เช่น  เว็บไซต์สำนักฯ  Facebook สำนักฯ  สายตรงผู้บริหาร  แบบสอบถามความคิดเห็น
      ๒. มีการปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างเท่าเทียมในการปฏิบัติงาน การประเมินความดี ความชอบ และการสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง
      ๓. สร้างทัศนคติ และค่านิยมด้านความเสมอภาคให้แก่บุคลากร ในการให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน
      ๔. ให้บริการผู้มาติดต่อความความเท่าเทียมกัน ทั้งในด้านคุณภาพการให้บริการ การอำนวยความสะดวก การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ภายใต้แนวนโยบายที่เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติด้วยมาตรฐานเดียวกัน
   ๑๐. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)
   ผู้บริหารหน่วยงานฯ ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการประจำสำนักฯ และคณะกรรมการบริหารสำนักฯ ยึดหลักเคารพมติของเสียงส่วนใหญ่และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิด ฉันทามติ และการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม ตัวอย่างการปฎิบัติของผู้บริหารสำนักฯ ที่แสดงให้เห็นถึงการมุ่งเน้น   ฉันทามติ ได้แก่
      ๑. ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก ผู้บริหารยึดกฎระเบียบข้อบังคับในการดำเนินงาน เคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของสำนักเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
      ๒. ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผู้บริหารมีแนวทางการในการหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างสำนักฯ กับคณะ ในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
      ๓. การพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานของหน่วยงาน การออกเสียงหรือแสดงความเห็นในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนัก เคารพมติของเสียงส่วนใหญ่ และความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดฉันทามติ และการดำเนินงานของสำนักเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม

 

 

หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑  รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๒  สรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๓  รายงานการวิเคราะห์การใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๔  ระบบบริหารงบประมาณ การเงินและการบัญชี http://๓dgf.nsru.ac.th/
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๕  ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม/โครงการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๖  คู่มือการปฏิบัติงาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๗  รายงานผลการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๘  เว็บไซต์สำนักฯ http://artculture.nsru.ac.th/
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๙  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๐  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๑  คำสั่งแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๒  สายตรงถึงผู้บริหาร
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๓  Facebook สำนักฯ https://www.facebook.com/culturensru/
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๔  E-mail สำนักฯ artculture.nsru@gmail.com
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๕  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ , ๒/๒๕๖๗ และ ๓/๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๓/๑๖  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ และ ๒/๒๕๖๗

ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และด้านการบริหารจัดการ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

     ผลการดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการดำเนินการและบริหารจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามนโยบายการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักฯ ดังนี้
      

   ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง การนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   การบ่งชี้ความรู้
   - สำนักฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักฯ
   - มีการประชุมคณะกรรมการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม  เพื่อสำรวจประเด็นในการจัดการความรู้ของสำนักฯ ซึ่งประเด็นในการจัดการความรู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ คือ การนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   การสร้างและแสวงหาความรู้
   - ทำการสำรวจ ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   - มีจัดทำแผนการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยกำหนดกิจกรรม/โครงการ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่บุคลากรในสำนักฯ ในประเด็นที่ต้องการจัดการความรู้
   - มีการแสวงหาความรู้โดยจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรของสำนักฯ
   การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
   - มีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   - มีการนำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code มารวบรวมเพื่อเตรียมการจัดทำ (ร่าง) เอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้
   - มีการนำข้อมูลความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำเป็นเอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code และสร้างความเข้าใจในเรื่องการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   - มีการประชุมบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ในการจัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code สรุปประเด็นที่จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไข และนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการมาปรับปรุงรูปแบบ เนื้อหาเอกสารความรู้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
   การเข้าถึงความรู้
   - มีการจัดพิมพ์เอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code เพื่อเผยแพร่ให้กับบุคลากรในสำนักฯ
   - มีการเผยแพร่เอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code ผ่านทางเว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม http://artculture.nsru.ac.th/
   การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
   - มีการประชุมบุคลากรเพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ถ่ายทอดความรู้ และประโยชน์ให้กับบุคลากรในสำนักฯ ในเรื่องการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
   การเรียนรู้
   - บุคลากรของสำนักฯ นำความรู้ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เช่น บุคลากรของสำนักฯ สามารถให้คำแนะนำในการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ผ่านรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมได้
   การกำกับติดตามและประเมินผล
   - มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
   - ได้มีการนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ หรือกิจกรรม/โครงการ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในปีต่อไปให้ดียิ่งขึ้น


 

หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๑  Flow Chart การจัดการความรู้ (KM)
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๒  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๓  แผนการจัดการความรู้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๔  สรุปผลโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๕  เอกสารความรู้เกี่ยวกับการนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๖  รายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนการจัดการความรู้ประจำปีการศึกษา๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๗  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ , ๒/๒๕๖๗ และ ๓/๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๔/๘  เว็บไซต์สำนักศิลปะและวัฒนธรรม http://artculture.nsru.ac.th/



การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหาร และแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

     ผลการดำเนินการ  

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีการจัดทำแผนการบริหาร และแผนพัฒนาบุคลากร และมีการติดตามผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากร ดังนี้
   ๑. สำนักฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ จัดทำแผนอัตรากำลัง และแผนพัฒนาบุคลากรของสำนักฯ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
   ๒. มีการจัดทำแผนอัตรากำลัง ระยะ ๔ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ – ๒๕๖๙ โดยให้มีขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องราวต่าง ๆ ดังนี้
       ๒.๑ มีการวิเคราะห์ภารกิจ หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายรัฐบาล และสภาพปัญหาของสำนัก
       ๒.๒ มีการกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในและการจัดระบบงาน เพื่อรองรับภารกิจตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบให้สามารถแก้ปัญหาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านบุคลากรของสำนักฯพบว่า ยังมีจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการให้เป็นไปตามพันธกิจของสำนักฯ เนื่องจากนโยบายการจำกัดอัตรากำลังบุคลากรทำให้ขาดแคลนบุคลากรในขณะที่มีภาระงานเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการจัดทำแผนอัตรากำลังระยะยาวขึ้น
   ๓. มีการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ โดยมีการจัดสรรงบประมาณในการเข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ งานด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทำให้บุคลากรในหน่วยงานเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพอันจะส่งผลสำเร็จต่อเป้าหมายการดำเนินงานของสำนักฯ
   ๔.   มีการจัดกิจกรรม/โครงการในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และสร้างบรรยากาศในการส่งเสริมการทำงาน ดังนี้
     ๔.๑ จัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาหาความรู้ พัฒนาการปฏิบัติงาน ดังนี้
             ๔.๑.๑ กิจกรรมการทบทวนแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
             ๔.๑.๒ กิจกรรมการจัดการความรู้ (km) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “การนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code” เมื่อวันพุธที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
     ๔.๒ สนับสนุนบุคลากรในการเข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งเปลี่ยนบรรยากาศในการทำงาน ดังนี้
             ๔.๒.๑ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมกำกับติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย วันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมออนไลน์ (ห้องประชุม ๑) อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๒ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมเพื่อรับการตรวจติดตามและประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๒ – ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ด้วยโปรแกรม ZOOM) ณ ห้องประชุมออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๓ นางสาวชัญภร  สาทประสิทธิ์  นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  และนางสาวณัฐนรี  แสงสุข  เข้าร่วมการฝึกอบรม เรื่อง การใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (e-meeting.nsru.ac.th) วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ๓ ชั้น ๒ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ในเมือง)
             ๔.๒.๔ ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ระดับมหาวิทยาลัย วันพุธที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๕ นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ และนางสาวณัฐนรี  แสงสุข  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วันพฤหัสบดีที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๖ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  ผศ.ทัศนีพร  วิศาลสุวรรณกร  รศ.พรรษประเวศ  อชิโนบุญวัฒน์  ผศ.ดร.เพียงพิศ  ชะโกทอง  นางสาวชัญภร  สาทประสิทธิ์  นายปริญญา  จั่นเจริญ  นางช่อลัดดา  คันธชิต  นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  และนางสาวณัฐนรี  แสงสุข  เข้าร่วมประชุมพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๕ และ ประจำปี ๒๕๖๖  วันศุกร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ในเมือง)
             ๔.๒.๗ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ดร.เพียงพิศ  ชะโกทอง  นางสาวชัญภร  สาทประสิทธิ์  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ไตรมาส ๒ วันอังคารที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๘ นางสาวชัญภร  สาทประสิทธิ์  นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  และนางสาวณัฐนรี  แสงสุข  เข้าร่วมอบรมโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ระหว่างวันที่ ๓ – ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา และห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตข้าราชการกองทัพเรือ – หาดนางรอง จังหวัดชลบุรี
             ๔.๒.๙ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ จาก สมศ. วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม Google Meet
             ๔.๒.๑๐ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมและเข้ารับการสัมภาษณ์ พร้อมทั้งร่วมชี้แจงข้อมูลต่อคณะผู้ประเมินภายนอก วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
             ๔.๒.๑๑ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ  และนางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์  เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบเกณฑ์และแนวทางการประเมินผลงานของมหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี และผู้อำนวยการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม Google Meet
        ๔.๓ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในสำนักฯ ได้รับตำแหน่งทางวิชาชีพสูงขึ้น โดยให้บุคลากรทุกคนจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ดังนี้
             ๔.๓.๑ นายปริญญา  จั่นเจริญ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ (กลุ่มงานหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น) จัดทำคู่มือขั้นตอนและวิธีการจัดพิธีการ พิธีกรรม และคู่มือปฏิบัติงานหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
             ๔.๓.๒ นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ นักวิชาการศึกษา (งานประกันคุณภาพการศึกษา และแผนงาน) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
             ๔.๓.๓ นางช่อลัดดา  คันธชิต เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานการเงินและพัสดุ) จัดทำคู่มือกระบวนการ ขั้นตอนเบิกจ่ายงบประมาณ
             ๔.๓.๔ นางสาวณัฐนรี  แสงสุข เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (งานคอมพิวเตอร์) จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านงานคอมพิวเตอร์
        ๔.๔ มีการจัดกิจกรรมสังสรรค์วันปีใหม่เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของบุคลากรในสำนักทุกคนที่ปฏิบัติงานด้วยความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันทำงานจนงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
        ๔.๕สถานที่ทำงาน มีการจัดและตกแต่งสถานที่ให้มีความสะอาด สวยงาม มีการจัดตกแต่งสวนบริเวณภายนอกสำนักงาน ทำให้สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
        ๔.๖ ภารกิจหรืองานที่ทำ มีความชัดเจนในภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
มีความต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วงตอน มีงานทำอย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคงในอาชีพซึ่งเป็นหลักประกันให้บุคลากรในหน่วยงานมีความรู้สึกว่างานในอาชีพจะช่วยให้มีความสุขได้
        ๔.๗ เพื่อนร่วมงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างมีความสุข มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความรัก สามัคคีของบุคลากรในสำนักฯ 
        ๔.๘ เครื่องอำนวยความสะดวกในการทำงาน มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยผ่อนแรงในการทำงาน มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ทำให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว
   ๕.มีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปีงบประมาณ๒๕ ๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ดังนี้
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๖ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๙ เดือน)
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ (รอบ ๑๒ เดือน)
      การดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน มีดังนี้
      รอบ ๖ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๔ โครงการ
      บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ๓ โครงการ
      คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐
      จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๓ ตัวชี้วัด
      บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๒ ตัวชี้วัด
      ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗     
      รอบ ๙ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๔ โครงการ
      บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ๓ โครงการ
      คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๐๐
      จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๓ ตัวชี้วัด
      บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๒ ตัวชี้วัด
      ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗  
      รอบ ๑๒ เดือน
      จำนวนกิจกรรม/โครงการ ๔ โครงการ
      บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ๔ โครงการ
      คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐
      จำนวนตัวชี้วัดของแผน ๓ ตัวชี้วัด
      บรรลุผลสำเร็จ จำนวน ๓ ตัวชี้วัด
      ผลสำเร็จคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

     ๖. ได้มีการนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร หรือกิจกรรม/โครงการของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในปีต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

 





หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๑  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๒  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๓  แผนอัตรากำลัง ระยะ ๔ ปี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ – ๒๕๖๙
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๔  แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๕  สรุปผลกิจกรรมการทบทวนแผนยุทธ์ศาสตร์และแผนการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๖  สรุปผลกิจกรรมการจัดการความรู้ (km) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “การนำชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบคิวอาร์โค้ด QR Code” เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชูโรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๗  สรุปการไปอบรม /ประชุม/ สัมมนา ด้านการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๕/๘  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ , ๔/๒๕๖๖ และ ๕/๒๕๖๖


ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสำนักที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานสำนักตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

     ผลการดำเนินการ

    สำนักฯ มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักและมหาวิทยาลัย ๓ ระบบ ดังนี้
    ๑. ระบบการควบคุมคุณภาพ
        ๑.๑ มีนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยที่เป็นแนวทางให้สำนักฯ ต้องปฏิบัติตาม สำนักฯ ได้กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักที่สอดคล้องกับของมหาวิทยาลัย
        ๑.๒ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
        ๑.๓ สำนักฯ จัดทำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
        ๑.๔ มีผู้รับผิดชอบกำกับดูแลตัวชี้วัดและจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพิ่มเติม  ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการรองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน          
    ๒. ระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ
         ๒.๑ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ เพื่อติดตาม และทบทวนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม
         ๒.๒ มีผู้รับผิดชอบกำกับดูแลตัวชี้วัดและจัดเก็บข้อมูล รายงานผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพิ่มเติม
         ๒.๓ มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
         ๒.๔ มีการกำกับติดตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๖  รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน และรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ต่อกลุ่มงานมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อประกอบการติดตามตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้

          รอบ ๖ เดือน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ

คะแนนที่ได้

ตัวบ่งชี้ ๕.๑

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๑

๓ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๒

๓ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๓

๒ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๔

๓ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๕

๒ คะแนน

คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ

๓.๐๐ คะแนน

          รอบ ๙ เดือน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ

คะแนนที่ได้

ตัวบ่งชี้ ๕.๑

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๑

๔ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๒

๔ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๓

๔ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๔

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๕

๕ คะแนน

คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ

๔.๖๗ คะแนน

      รอบ ๑๒ เดือน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ

คะแนนที่ได้

ตัวบ่งชี้ ๕.๑

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๑

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๒

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๓

๔ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๔

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๕

๕ คะแนน

คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ

๔.๘๓ คะแนน

      ผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ

ปีการศึกษา

๒๕๖๔

๒๕๖๕

๒๕๖๖

คะแนนที่ได้

คะแนนที่ได้

คะแนนที่ได้

ตัวบ่งชี้ ๕.๑

๔ คะแนน

๕ คะแนน

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๑

๔ คะแนน

๕ คะแนน

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๒

๕ คะแนน

๕ คะแนน

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๓

๔ คะแนน

๔ คะแนน

๔ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๔

๕ คะแนน

๕ คะแนน

๕ คะแนน

ตัวบ่งชี้เพิ่มเติม ๕

๕ คะแนน

๕ คะแนน

๕ คะแนน

คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ

๔.๕๐ คะแนน

๔.๘๓ คะแนน

๔.๘๓ คะแนน

      ๒.๕ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับติดตามการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ
      ๒.๖ มีการติดตาม ตรวจสอบ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ โดยคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับติดตามการประกันคุณภาพการศึกษา พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขรายงานการประเมินตนเองของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
    ๓. ระบบการประเมินคุณภาพ
        ๓.๑ มีคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของสำนักฯ ตรวจสอบรายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์
        ๓.๒ มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนักฯ
        ๓.๓ สรุปผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ และมีการนำผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสำนักฯ เพื่อปรับปรุงการทำงาน และพัฒนาผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักฯ ให้ดียิ่งขึ้น    


หลักฐาน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑  นโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัย
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๒  นโยบายการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๓  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๔  แผนการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๕  รายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสำนักฯ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๖  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ , ๒/๒๕๖๗ และ ๓/๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๗  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำสำนัก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ และ ๒/๒๕๖๗
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๘  บันทึกข้อความการกำกับติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รอบ ๙ เดือน
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๙  รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา  ๒๕๖๖
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๐  คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๖๖ 
๕-๕.๑-NSRU_OC-๖/๑๑  แผนพัฒนาคุณภาพสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ปีการศึกษา ๒๕๖๖



 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๕ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
     
 

จุดแข็ง
-

จุดที่ควรพัฒนา
-

วิธีปฏิบัติที่ดี
-