มีการดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
ผลดำเนินการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดทำกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓. การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จตามกิจกรรม/โครงการ และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนและท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
๒. เพื่อสร้างผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชน
๓. เพื่อนำผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
๔. เพื่อนำผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด
๑. จำนวนกิจกรรมหรือโครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๑ กิจกรรม/โครงการ
๒. มีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๑ ชิ้นงาน
๓. สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน
๔. สามารถสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม จำนวน ๑๖๐,๘๐๐ บาท ดังนี้
กิจกรรม/โครงการ |
งบประมาณ |
๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
๖๖,๕๐๐ |
๒. กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม |
๔๘,๔๐๐ |
๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี |
๒๒,๙๐๐ |
๔. กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี |
๒๓,๐๐๐ |
มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
๑. จัดทำแบบเสนอกิจกรรม/โครงการ ให้ผู้บริหารพิจารณา ดังนี้
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๒. ทำการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม/โครงการผ่านบันทึกข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์สำนักฯ Facebook สำนักฯ ดังนี้
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
๓. จัดทำแบบตอบรับการเข้าร่วมอบรมกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ดังนี้
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๔. จัดทำหนังสือขออนุญาตใช้สถานที่/หนังสือเชิญวิทยากร ดังนี้
- ทำหนังสือเชิญวิทยากรกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ทำหนังสือเชิญวิทยากรกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- ทำหนังสือเชิญเป็นกรรมการตัดสินกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๕. นำโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการทั้งหมดทำเรื่องขอยืมเงินทดรองจ่าย โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- กำหนดการ
- คำสั่ง
- หนังสือเชิญวิทยากร
๖. ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๕ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวันพุธที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ลานหน้าหอวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๗. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ และข้อเสนอแนะ ดังนี้
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๘. จัดทำหนังสือขอบคุณวิทยากร หลังจากดำเนินกิจกรรม/โครงการเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
- หนังสือขอบคุณวิทยากรกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- หนังสือขอบคุณวิทยากรกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- หนังสือขอบคุณกรรมการตัดสินกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๙. ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- ใบเซ็นชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
- ใบเสร็จรับเงิน/บิลเงินสด
- ใบสำคัญรับเงินวิทยากร
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับจ้าง/ผู้ขาย
๑๐. จัดทำเล่มสรุปผลกิจกรรม/โครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมดในแต่ละกิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สรุปผลกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
- สรุปผลกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
- สรุปผลกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวันพุธที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนหน้าหุ่น กระบอก เทคนิคการทำเครื่องแต่งกาย และเทคนิคการทำเครื่องประดับประกอบเครื่องแต่งกาย โดยวิทยากร ๑. คุณวีระวุฒ นิพนธ์ ๒. คุณสถาปัตย์ ทองพืช ให้กับ ครู นักเรียน และประชาชนทั่วไป
มีการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๒ ต้นแบบ คือ ต้นแบบหุ่นกระบอกแบบอนุรักษ์ และต้นแบบหุ่นกระบอกแบบสร้างสรรค์
๒. ผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย เป็นหุ่นกระบอกคณะแรกของเมืองไทยที่มีประวัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีนายเหน่ง เป็นเจ้าของหุ่นกระบอกและได้ถ่ายทอดการเชิดหุ่นให้แก่ลูกหลาน เดิมมีชื่อคณะว่า “หุ่นครูเหน่ง” แต่ได้เปลี่ยนชื่อคณะตามเจ้าของหุ่นผู้ได้รับการสืบทอดเป็น “หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย” เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ่นกระบอกให้เป็นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ และเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทรงคุณค่าและคงอยู่ให้ยั่งยืน
หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้ายจะมีความโดดเด่น และมีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองมีความสวยงามสไตล์พื้นบ้าน ลักษณะตัวหุ่นของแม่ชะเวงตัวหุ่นจะใช้วัสดุที่ทําจากไม้รูปร่างของตัวหุ่นจะมีความแตกต่างกันไปที่ใช้ในการแสดงละครแต่ละเรื่องเช่นทศกัณฑ์ บางตัวเป็นการจินตนาการในรูปร่างลักษณะที่ไม่ลอกเลียนแบบใคร แต่จะมีความเข้าใจง่ายว่าเป็นตัวอะไร มือที่เป็นรูปมือคนซึ่งมือข้างหนึ่งจะออกแบบท่ากําลังรําและอีกข้างหนึ่งเหยียด
ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นการนำเอาจุดเด่นของตัวละครของหุ่นกระบอกแม่เชวงมาใช้เป็นไอเดียในการต่อยอดจะถือได้ว่าเป็น Art toy ผสมผสานความงดงามเชิงศิลปะร่วมสมัย ต่อยอดจากศิลปะการแสดง และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ จากแนวคิดในการสืบสาน และการสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ผลิตภัณฑ์การสืบสานหุ่นกระบอกอัตลักษณ์หุ่นกระบอกแม่เชวง และผลิตภัณฑ์การสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง
รายละเอียด |
ผลิตภัณฑ์การสืบสานอัตลักษณ์หุ่นกระบอกแม่เชวง |
ผลิตภัณฑ์การสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง |
|
|
ด้านรูปแบบลวดลายกราฟิก |
ตัวละครเป็นตัวประกอบ หรือเป็นตัวตลกการเขียนหน้าให้ดูตลกไปตามลักษณะของแต่ละตัวหุ่น |
แล้วแต่ผู้เขียนหน้าออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นตามจินตนาการของตนเอง |
วัสดุ |
- หัวหุ่นกระบอกเป็นปูนพลาสเตอร์ลงสี
- ผ้าเครื่องแต่งกายหุ่น
- เครื่องประดับตกแต่ง
- ฐานตั้งหุ่น
|
- หัวหุ่นกระบอกเป็นปูนพลาสเตอร์
- ผ้าเครื่องแต่งกายหุ่น
- ฐานตั้งหุ่น
- สีโปสเตอร์ในการเพ้นท์
|
เฉลี่ยต้นทุน |
๑๙๐ บาท ต่อกล่อง |
๑๕๐ บาท ต่อกล่อง |
ราคาขาย |
๓๙๐ บาทต่อกล่อง |
๓๕๐ บาทต่อกล่อง |
กำไร |
๒๐๐ บาทต่อกล่อง |
๒๐๐ บาทต่อกล่อง |
การจัดจำหน่าย |
๑๕ กล่องต่องานอีเว้นออกขาย |
๕๐ กล่องต่องานอีเว้นออกขาย
งานที่รับวิทยาการในการอบรม อย่างต่ำ ๓๐ กล่อง |
หมายเหตุ การออกขายขึ้นอยู่กับการจัดงานการขายของตามงานศิลปวัฒนธรรม เช่นงานโขนกรุงศรีอยุธยา หรือการขายออนไลน์ และการรับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมการทำหุ่นกระบอกตามโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง
๓. กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ลานหน้าหอวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการจัดกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าหลากวัฒนธรรมจาก ๕ คณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน ๑๕ ร้านค้า ประกอบด้วย สินค้าชุมชน OTOP , สินค้าอาหารนานาชาติ , สินค้าอาหารฟิวชั่น , สินค้าทางวัฒนธรรม เช่น ตุ๊กตาโขน หุ่นกระบอก ผ้าไทย และสินค้าของเล่นย้อนวัย ฯลฯ , กิจกรรมวาดสีชอล์คบนพื้นถนน ให้กลายเป็น “ถนนศิลปะ” (Street Art) , กิจกรรมการแสดงดนตรี “วงโฟล์คซอง” , กิจกรรม“วาดภาพเหมือนแนวการ์ตูน” (ภาพล้อเลียน) ให้เป็นศิลปะเฉพาะตน และกิจกรรมเพ้นท์กระเป๋าผ้าดิบ
๔. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี วันศุกร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม ๑๑๑๒ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคค้นหาข้อมูลนำมาสร้างสรรค์ผลงาน การสร้าง concept ศึกษาจากงาน Illustration เพื่อนำมาต่อยอดและพัฒนาผลงาน เทคนิคต่าง ๆ การสร้าง character และเทคนิคต่าง ๆ การสร้างภาพประกอบ โดยวิทยากร ๑. ผศ.ดร.ยุวดี ทองอ่อน ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
๕. กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤษภาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการนำอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มาสร้างภาพประกอบและนำมาใช้ประโยชน์เป็นสินค้าสร้างรายได้ เพิ่มความสวยงามและสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า และสามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ดึงดูดความสนใจของผู้คน จึงเกิดการจดจำหรือกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ที่ดี จึงได้จัดกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการคัดสรรจำนวน ๕ ผลงาน ดังนี้
๑.ชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
นายติณณภพ บำรุงศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒.รองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
นางสาวกุลณัฐ เฉลิมพะจง วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
๓.รองชนะเลิศอันดับ ๒ พร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
นางสาวจิรปรียา ชูยอด โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
๔.ชมเชย พร้อมเงินรางวัล ๕๐๐ บาท
นางสาวอริญา แสงคีรีเขต วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
นายรัชชานนท์ สุขขวัญ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ |