:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๖
ตัวบ่งชี้เพื่มเติม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้เพิ่มเติมที่ ๒. ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
          
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของสถาบัน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีงาม

เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ

       
    ๑.
    กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
    ๒. จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
    ๓. มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
    ๔. กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน
    ๕. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
    ๖. เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน
    ๗. มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบหรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่
    ๘. กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

     


                    

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

มีการดำเนินการ

๑ ข้อ

มีการดำเนินการ

๒ ข้อ

มีการดำเนินการ

๓ - ๔ ข้อ

มีการดำเนินการ

๕ - ๖ ข้อ

มีการดำเนินการ

๗ - ๘ ข้อ



การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ เบอร์โทรภายใน : ๑๔๒๕
  ผศ.ชุณษิตา  นาคภพ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๗ 
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ บอร์โทรภายใน : ๑๑๓๘
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน

กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

     ผลดำเนินการ

    สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัยด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เรื่อง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมอบหมายให้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการให้การสนับสนุน ส่งเสริม ร่วมมือกับคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานตามนโยบาย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

   นโยบาย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
          แนวทางการดำเนินงาน
          ๑.๑  ส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๑.๒  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๑.๓  ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และพัฒนาการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า
          ๑.๔  มีการสร้างความร่วมมือในการจัดกิจกรรม/โครงการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับชุมชนในท้องถิ่น
          ๑.๕  มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
          ๑.๖  มีการเผยแพร่ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 


 

หลักฐาน
๒-NSRU-๑/๑  ประกาศสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง นโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์


จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

     ผลดำเนินการ    

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ สำนักฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยคณะกรรมการร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อวัดความสำเร็จตามแผน และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

แผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖

ประเด็นยุทธศาสตร์
การสร้างสรรค์การวิจัย พัฒนานวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน กิจกรรม
นักศึกษา หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ
๔. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๕. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๖. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดังนี้


ตัวชี้วัด

เป้าหมาย ๖๖

๑. มีกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓ กิจกรรม/โครงการ

๒. มีกิจกรรมการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๗ กิจกรรม/โครงการ

๓. มีกิจกรรมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ

๔ กิจกรรม/โครงการ

๔. มีการจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖ องค์ความรู้

๕. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓ ช่องทาง

๖. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑ แหล่ง

  
                                    กิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดังนี้


กิจกรรม/โครงการ

งบประมาณ

๑. กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

๙๙,๐๐๐

๒. กิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์

๔๖,๐๐๐

๓. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์

๘๑,๐๐๐

๔. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์

๑๖,๖๐๐

๕. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖๖,๕๐๐

๖. กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม

๔๘,๔๐๐

๗. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี

๒๒,๙๐๐

๘. กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี

๒๓,๐๐๐

๙. กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖

๓๕,๐๐๐

๑๐. กิจกรรมสืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์

๙๕,๐๐๐

๑๑. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึกหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์

๒๕,๐๐๐

๑๒. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code

๗๐,๐๐๐

๑๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย"

๑๒๐,๐๐๐

๑๔. กิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย

๑๘,๐๐๐

๑๕. กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์

๑๘,๒๐๐

๑๖. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เพลงฉ่อย"

๖๑,๘๐๐

๑๗. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"

๓๔,๔๐๐

๑๘. กิจกรรมการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)

๓๐,๒๐๐

๑๙. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง

๔๖,๐๐๐

๒๐. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท

๘๐,๐๐๐

๒๑. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)

๘๐,๐๐๐

๒๒. โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน

๒๓๕,๐๐๐

รวมทั้งหมด

๑,๓๕๒,๐๐๐

 

 


 

หลักฐาน
๒-NSRU-๒/๑  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒-NSRU-๒/๒  แผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖



มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

     ผลดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม ดังนี้

   ด้านการบริการวิชาการ
   ๑. กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์” วันเสาร์ที่ ๒๕  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ลักษณะและความสำคัญของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่อการศึกษาท้องถิ่น  วิธีการศึกษาท้องถิ่น  และนครสวรรค์ในมิติประวัติศาสตร์  โดยวิทยากร ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิมพ์อุมา ธัญธนกุล  ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิลุบล กองกลิ่น  อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ให้กับบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ และประชาชนทั่วไป
   ๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากรายนครสวรรค์” เทคนิคขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และการจัดเตรียมส่วนผสมและวัตถุดิบ (ขั้นตอนการตำพริกแกง และเตรียมเครื่องส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง)  ขั้นตอนการผสม ปรุงรส และนำไปทอด  โดยวิทยากร  ๑. อาจารย์นารีรัตน์  บุญลักษณ์  หัวหน้าสาขาวิชาคหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ๒. นางวาสนา พูลเพิ่ม  ร้านป้าเฮียะทอดมันปลากราย  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
   ๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง" ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับนาฏยลักษณ์ของระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง  ระบำท่าเจดีย์และท่าพระนอน  และระบำท่าแจกันและท่าผอบ  โดยวิทยากร  ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี  ๒. อาจารย์กนกพัชร แจ่มฟ้า  สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ให้กับ ครู  นักเรียน  จากโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์
   ๔. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวันพุธที่  ๒๔ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนหน้าหุ่น กระบอก  เทคนิคการทำเครื่องแต่งกาย  และเทคนิคการทำเครื่องประดับประกอบเครื่องแต่งกาย  โดยวิทยากร  ๑. คุณวีระวุฒ นิพนธ์  ๒. คุณสถาปัตย์ ทองพืช  ให้กับ ครู  นักเรียน  และประชาชนทั่วไป
   ๕. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร และเวทีกลางแจ้ง สนามลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบำ รำ ฟ้อนสะท้อนอัตลักษณ์นครสวรรค์  การบูรณาการองค์ความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ของศาสตร์ด้านศิลปะการแสดง  และศิลปะการแสดงสะท้อนอัตลักษณ์นครสวรรค์ การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย–ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์  โดยวิทยากร  ๑. นางสาวสุภัทรสินี  ทิพรังศรี วิทยากรจากโรงเรียนนครสวรรค์  ๒. นางสาวศิริลักษณ์  ถึงศรีปั้น วิทยากรจากโรงเรียนสตรีนครสวรรค์  ๓. นางสาวดวงกมล  กองไธสง วิทยากรจากโรงเรียนไพศาลีพิทยา  ๔. นางสาวนวลนลา  สำเภายนต์ วิทยากรจากโรงเรียนลาดยาววิทยาคม  ๕. นางสาวภัทราภรณ์  แดงชาวนา วิทยากรจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป               
   ๖. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง" ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ  ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง  สุนทรียภาพในการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง  เทคนิคการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองในการประกวดแข่งขัน  และข้อบกพร่องในการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง  โดยวิทยากร ๑. รองศาสตราจารย์โอฬาร รัตนภักดี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ๒. นาวาอากาศโท ดร.สมบัติ สมศรีพลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ดรุนัยธร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ให้กับนักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป
   ๗. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านภาคกลาง  การร้องเพลงฉ่อยนครสวรรค์  เคล็ดลับการร้องเพลงฉ่อยให้ฟังอร่อยถูกใจ  และการร้องและการแสดงเพลงฉ่อยนครสวรรค์  โดยวิทยากร ๑. คุณสุธาทิพย์ ธราพร ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงฉ่อย  ๒. คุณสุภาพร อร่ามศรี  คณะชูรัก-สุภาพร  ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงฉ่อย  ให้กับนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
   ๘. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ระหว่างวันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา อำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสานทางมะพร้าว  การทำไม้กวาดดอกหญ้าด้ามเล็ก  และศิลปะการรำลาวครั่งกุดจอก  โดยวิทยากร ๑. คุณสุพจน์  สุขสุด  ๒. คุณหิรัณย์ฌา  ทองบุญ  ๓. คุณสายฝน  ศรีนางแย้ม  ๔.คุณจงกล  แข็งสาริกรณ์  ๕. คุณอรัญญา  ช้างหัวหน้า  ๖. คุณรังษินี  โชคลาภ  ให้กับนักเรียนและคุณครู ของโรงเรียนศรีสโมสรวิทยา
   ๙. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์ วันอังคารที่  ๑๙  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๖๗  ณ ศูนย์วัฒนธรรมบ้านหนองโพ วัดหนองโพ  ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีประกอบการแสดงโขน  ความรู้เบื้องต้นจังหวะดนตรีประกอบท่ารำ  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแสดงท่าทาง  และเทคนิค วิธีการเกี่ยวกับการแสดงโขน  โดยวิทยากร  ๑. นายกิตติศักดิ์ แสงจันทร์ ศิลปินถิ่นสวรรค์ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗  ให้กับนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจงาน
   ๑๐. กิจกรรมการอบรมการเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่  ๒๙ – ๓๐  มีนาคม พ.ศ.  ๒๕๖๗  ณ ห้องประชุมชอนตะวัน ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการฝึกทักษะการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย  เทคนิคการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย  บทเพลงพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกลวิธีการบรรเลง  และการรวมวงและเทคนิคการปรับวงดนตรีไทย  โดยวิทยากร  ๑. อาจารย์ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล  ๒. อาจารย์วรุตม์ ปัทมดิลก  ๓. อาจารย์วิพักตร์ คล้ายสุบิน  ๔. อาจารย์พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค  ๕. ดร.ณยศ สาตจีนพงษ์  ๖. อาจารย์วรรณวลี คำพันธ์    ๗. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ  ให้กับเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์
   ๑๑. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์) ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๗  ณ หอประชุม โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการจับจีบผ้า ด้านการทำดอกไม้จากผ้าแก้ว และฐานงานปูน โดยวิทยากร ๑. นายอริสรา ไทยรัตนกุล  ๒. นายตรีทิพย์นิภา  อุ่นปานทอง  ๓. นายบัณฑิตย์  ทาเวียง  ๔.นายพีระพงษ์  จิตอามาตย์  ให้กับนักเรียนและคุณครู ของโรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษฏ์
   ๑๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี วันศุกร์ที่  ๒๔  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ  ห้องประชุม ๑๑๑๒ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคค้นหาข้อมูลนำมาสร้างสรรค์ผลงาน การสร้าง concept ศึกษาจากงาน Illustration เพื่อนำมาต่อยอดและพัฒนาผลงาน เทคนิคต่าง ๆ การสร้าง character และเทคนิคต่าง ๆ การสร้างภาพประกอบ  โดยวิทยากร ๑. ผศ.ดร.ยุวดี ทองอ่อน  ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ

   ด้านผลงานสร้างสรรค์
   ๑. กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม วันพุธที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗  ณ  ลานหน้าหอวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการจัดกิจกรรมการจำหน่ายสินค้าหลากวัฒนธรรมจาก ๕ คณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน ๑๕ ร้านค้า ประกอบด้วย สินค้าชุมชน OTOP , สินค้าอาหารนานาชาติ , สินค้าอาหารฟิวชั่น , สินค้าทางวัฒนธรรม เช่น ตุ๊กตาโขน หุ่นกระบอก ผ้าไทย  และสินค้าของเล่นย้อนวัย ฯลฯ , กิจกรรมวาดสีชอล์คบนพื้นถนน ให้กลายเป็น “ถนนศิลปะ” (Street Art) , กิจกรรมการแสดงดนตรี “วงโฟล์คซอง” , กิจกรรม“วาดภาพเหมือนแนวการ์ตูน” (ภาพล้อเลียน) ให้เป็นศิลปะเฉพาะตน  และกิจกรรมเพ้นท์กระเป๋าผ้าดิบ
   ๒. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ วันพุธที่  ๒๐  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการพิจารณาคัดเลือกศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ทั้ง ๓ สาขา จำนวน ๗ ท่าน ดังนี้ 
       ๑. สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายกาศ กล่ำน้อย จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
       ๒. สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายประจวบ ฟักผล จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ 
       ๓. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายคำดี ขุนดารา จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
       ๔. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ แสงจันทร์ จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
       ๕. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายมนตรี เผือกจีน จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
       ๖. สาขาเยาวชนผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วงโปงลางแม่เปิน โรงเรียนอนุบาลแม่เปิน (บ้านตลุกตาสาม) จากกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
       ๗. สาขาเยาวชนผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ นางสาวกุลนิภา สายนาค
   ๓. กิจกรรมการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น) วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการพูดและศิลปะการใช้ภาษา สร้างจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้แก่นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัล ดังนี้
       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
       ๑. ชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
       เด็กหญิงพิชานันท์ ทองอยู่ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
       ๒. รองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมเงินรางวัล๓,๕๐๐ บาท 
       เด็กชายรัฐพงษ์ รักษา โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม
       ๓. รองชนะเลิศอันดับ ๒ พร้อมเงินรางวัล๒,๐๐๐ บาท
       เด็กชายพีรพัฒน์ จำปาทิพย์ โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
       ๔.ชมเชย พร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
       เด็กหญิงณัฏฐ์ชญา สีสวาด โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
       ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
       ๑.ชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
       นางสาววชิรญาณ์ สวนแจ้ง โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
       ๒.รองชนะเลิศอันดับ ๑ พร้อมเงินรางวัล๓,๕๐๐ บาท
       นายกฤษณะ ดิษฐประยูร โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
       ๓.รองชนะเลิศอันดับ ๒ พร้อมเงินรางวัล๒,๐๐๐ บาท
       นายศักดิ์ดา เกตุรัตน์ โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม
       ๔.ชมเชย พร้อมเงินรางวัล ๑,๐๐๐ บาท
       นางสาวณัฐกฤตา ก้อนจันทร์เทศ โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
   ๔. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๙ พฤษภาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ภายใต้หัวข้อ “๓๒ ปี...วิวรรธน์ สร้างสรรค์...หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์” เพื่อใช้เป็นสินค้าหรือของที่ระลึกสำหรับจำหน่าย ให้แก่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับของชำร่วยที่มาจากการสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมประกวดแล้ว ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการคัดสรรจำนวน ๕ ผลงาน ดังนี้
        ๑. รางวัลชนะเลิศ           พร้อมเงินรางวัล  ๕,๐๐๐ บาท
        นางสาวเรืองจอง ณ เมืองยอง         วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
        ๒. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑        พร้อมเงินรางวัล  ๓,๐๐๐ บาท 
        นายสง่า  ชมภูภู่                      
        ๓. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒        พร้อมเงินรางวัล  ๒,๐๐๐ บาท
        นายชาตรี  วงศ์สายสิน                โรงเรียนช่องแคพิทยาคม
        ๔. รางวัลชมเชย             พร้อมเงินรางวัล  ๑,๐๐๐ บาท
        นายธีรพงศ์  ธีระพันธ์
        ๕. รางวัลชมเชย             พร้อมเงินรางวัล  ๑,๐๐๐ บาท
        นางรัชฎาภรณ์  ตรัยรัตนเมธี       ร้านอาง้วนถ่ายเอกสาร นครสวรรค์
   ๕. กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤษภาคม - ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการนำอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มาสร้างภาพประกอบและนำมาใช้ประโยชน์เป็นสินค้าสร้างรายได้ เพิ่มความสวยงามและสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า และสามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ดึงดูดความสนใจของผู้คน จึงเกิดการจดจำหรือกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ที่ดี จึงได้จัดกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการคัดสรรจำนวน ๕ ผลงาน ดังนี้
        ๑. ชนะเลิศ                พร้อมเงินรางวัล  ๕,๐๐๐ บาท
        นายติณณภพ  บำรุงศรี             มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
        ๒. รองชนะเลิศอันดับ ๑   พร้อมเงินรางวัล  ๓,๐๐๐ บาท 
        นางสาวกุลณัฐ  เฉลิมพะจง          วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
        ๓. รองชนะเลิศอันดับ ๒   พร้อมเงินรางวัล  ๒,๐๐๐ บาท
        นางสาวจิรปรียา  ชูยอด            โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
        ๔. ชมเชย                   พร้อมเงินรางวัล  ๕๐๐ บาท
        นางสาวอริญา  แสงคีรีเขต          วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
        นายรัชชานนท์  สุขขวัญ            วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
   ๖. กิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย มีการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ – มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ จำนวน ๓ เรื่อง ดังนี้ 
       ๑. สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ  “ คนสองวัยใส่ใจวัฒนธรรมประเพณี”
       ๒. สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงค้นหา  ด้วยความเชื่อ ความศรัทธา  วัฒนธรรม และประเพณี
       ๓. สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง หุ่นกระบอกแม่เชวงอันทรงคุณค่าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
       จากนั้นนำสื่อออนไลน์ทั้ง ๓ เรื่อง เผยแพร่ในช่องยูทูปของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อ สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU https://www.youtube.com/@artsandculturensru8256
   ๗. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มีการจัดทำคลิปเสียงบรรยาย ผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน ๗๐ ชิ้นงาน แสดงข้อมูลเนื้อหาเป็นแบบเสียงบรรยายภาษาไทย สำหรับเผยแพร่ประสัมพันธ์ ในส่วนของนิทรรศการ ที่จัดแสดงอยู่ภายในอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้ในการนำบรรยาย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สำหรับรองรับการให้บริการแบบข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้เด็กและเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา ครู-อาจารย์ หรือประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ใช้ระบบฐานข้อมูลและสื่อบริการออนไลน์สำหรับเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า และงานบริการด้านการรวบรวมข้อมูล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ 
   ๘. ผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย เป็นหุ่นกระบอกคณะแรกของเมืองไทยที่มีประวัติสืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีนายเหน่ง เป็นเจ้าของหุ่นกระบอกและได้ถ่ายทอดการเชิดหุ่นให้แก่ลูกหลาน เดิมมีชื่อคณะว่า “หุ่นครูเหน่ง” แต่ได้เปลี่ยนชื่อคณะตามเจ้าของหุ่นผู้ได้รับการสืบทอดเป็น “หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้าย” เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ่นกระบอกให้เป็นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์ด้วยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ และเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทรงคุณค่าและคงอยู่ให้ยั่งยืน
      หุ่นกระบอกคณะแม่เชวง อ่อนละม้ายจะมีความโดดเด่น และมีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองมีความสวยงามสไตล์พื้นบ้าน ลักษณะตัวหุ่นของแม่ชะเวงตัวหุ่นจะใช้วัสดุที่ทําจากไม้รูปร่างของตัวหุ่นจะมีความแตกต่างกันไปที่ใช้ในการแสดงละครแต่ละเรื่องเช่นทศกัณฑ์ บางตัวเป็นการจินตนาการในรูปร่างลักษณะที่ไม่ลอกเลียนแบบใคร แต่จะมีความเข้าใจง่ายว่าเป็นตัวอะไร มือที่เป็นรูปมือคนซึ่งมือข้างหนึ่งจะออกแบบท่ากําลังรําและอีกข้างหนึ่งเหยียด
      ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นการนำเอาจุดเด่นของตัวละครของหุ่นกระบอกแม่เชวงมาใช้เป็นไอเดียในการต่อยอดจะถือได้ว่าเป็น Art toy ผสมผสานความงดงามเชิงศิลปะร่วมสมัย ต่อยอดจากศิลปะการแสดง และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ จากแนวคิดในการสืบสาน และการสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ผลิตภัณฑ์การสืบสานหุ่นกระบอกอัตลักษณ์หุ่นกระบอกแม่เชวง และผลิตภัณฑ์การสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง
 


รายละเอียด

ผลิตภัณฑ์การสืบสานอัตลักษณ์หุ่นกระบอกแม่เชวง

ผลิตภัณฑ์การสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง

A red cloth with a face and hands  Description automatically generated

A box with a red cloth and a white object with a face and paint  Description automatically generated with medium confidence

ด้านรูปแบบลวดลายกราฟิก

ตัวละครเป็นตัวประกอบ หรือเป็นตัวตลกการเขียนหน้าให้ดูตลกไปตามลักษณะของแต่ละตัวหุ่น

แล้วแต่ผู้เขียนหน้าออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นตามจินตนาการของตนเอง

วัสดุ

  • หัวหุ่นกระบอกเป็นปูนพลาสเตอร์ลงสี
  • ผ้าเครื่องแต่งกายหุ่น
  • เครื่องประดับตกแต่ง
  • ฐานตั้งหุ่น
  • หัวหุ่นกระบอกเป็นปูนพลาสเตอร์
  • ผ้าเครื่องแต่งกายหุ่น
  • ฐานตั้งหุ่น
  • สีโปสเตอร์ในการเพ้นท์

เฉลี่ยต้นทุน

๑๙๐ บาท ต่อกล่อง

๑๕๐ บาท ต่อกล่อง

ราคาขาย

๓๙๐ บาทต่อกล่อง

๓๕๐ บาทต่อกล่อง

กำไร

๒๐๐ บาทต่อกล่อง

๒๐๐ บาทต่อกล่อง

การจัดจำหน่าย

๑๕ กล่องต่องานอีเว้นออกขาย

๕๐ กล่องต่องานอีเว้นออกขาย
งานที่รับวิทยาการในการอบรม อย่างต่ำ ๓๐ กล่อง

หมายเหตุ การออกขายขึ้นอยู่กับการจัดงานการขายของตามงานศิลปวัฒนธรรม เช่นงานโขนกรุงศรีอยุธยา หรือการขายออนไลน์ และการรับเชิญเป็นวิทยากรการอบรมการทำหุ่นกระบอกตามโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียง

 

 

หลักฐาน
๒-NSRU-๓/๑  แผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
๒-NSRU-๓/๒  สรุปกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์”
๒-NSRU-๓/๓  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”
๒-NSRU-๓/๔  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
๒-NSRU-๓/๕  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒-NSRU-๓/๖  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ ๖ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
๒-NSRU-๓/๗  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง"
๒-NSRU-๓/๘  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เพลงฉ่อย
๒-NSRU-๓/๙  สรุปโครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
๒-NSRU-๓/๑๐  สรุปกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์
๒-NSRU-๓/๑๑  สรุปกิจกรรมการอบรมการเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย”
๒-NSRU-๓/๑๒  สรุปโครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)
๒-NSRU-๓/๑๓  สรุปกิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
๒-NSRU-๓/๑๔  สรุปกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๒-NSRU-๓/๑๕  สรุปกิจกรรมการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
๒-NSRU-๓/๑๖  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๒-NSRU-๓/๑๗  สรุปกิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึก หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
๒-NSRU-๓/๑๘  สรุปกิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
๒-NSRU-๓/๑๙  สื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ผ่านยูทูปของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อ สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU https://www.youtube.com/@artsandculturensru8256
๒-NSRU-๓/๒๐  สรุปกิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code
๒-NSRU-๓/๒๑  ภาพต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น


กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน

     ผลดำเนินการ

   การกำกับติดตาม
   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ดังนี้
   รอบ ๖ เดือน
   ๑. กำกับติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานกิจรรม/โครงการตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน
   ๒. กำกับติดตามผ่านการประชุม จำนวน ๑ ครั้ง ดังนี้
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือน มีดังนี้
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ  ๒๒  โครงการ
   บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย  ๓  โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖๔

   จำนวนตัวชี้วัดของแผน  ๖  ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน  ๑  ตัวชี้วัด
   คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗

   งบประมาณที่ได้รับ จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน  ๘๗,๖๐๐  บาท
   คิดเป็นร้อยละ ๖.๔๘  

   รอบ ๙ เดือน
   ๑. กำกับติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานกิจรรม/โครงการตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๙ เดือน
   ๒. กำกับติดตามผ่านการประชุม จำนวน ๑ ครั้ง ดังนี้
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ รอบ ๙ เดือน มีดังนี้
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ  ๒๒  โครงการ
   บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย  ๑๕  โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๑๘

   จำนวนตัวชี้วัดของแผน  ๖  ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน  ๓  ตัวชี้วัด
   คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๐

   งบประมาณที่ได้รับ จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน  ๗๓๓,๑๐๐  บาท
   คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๒๒     

   รอบ ๑๒ เดือน
   ๑. กำกับติดตามโดยผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานผลการดำเนินงานกิจรรม/โครงการตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๑๒ เดือน
   ๒. กำกับติดตามผ่านการประชุม จำนวน ๑ ครั้ง ดังนี้
       - การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
   ผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๑๒ มีดังนี้
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ  ๒๒  โครงการ
   บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย  ๒๒  โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   จำนวนตัวชี้วัดของแผน  ๖  ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน  ๖  ตัวชี้วัด
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   งบประมาณที่ได้รับ จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐     

   การประเมินความสำเร็จ
   มหาวิทยาลัยโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยมีการจัดทำรายงานสรุปผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของกิจกรรม/โครงการ และผลความสำเร็จของตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ดังนี้

การประเมินผลความสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ ดังนี้

ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

๑. มีกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  มีกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๔ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
   ๑. กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
   ๒. กิจกรรมศิลปวัฒนวิจักษ์
   ๓. กิจกรรมการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
   ๔. กิจกรรมการผลิตคลิปสื่อออนไลน์ นำบรรยายหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ แบบคิวอาร์โค้ด QR Code

๒. มีกิจกรรมการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

   มีกิจกรรมการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๑๗ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
   ๑. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
   ๒. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์
   ๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
   ๔. กิจกรรมลานตลาด หลากวัฒนธรรม
   ๕. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
   ๖. กิจกรรมการประกวดผลงานสร้างสรรค์อัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
   ๗. กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖
   ๘. กิจกรรมสืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
   ๙. กิจกรรมการประกวดงานสร้างสรรค์ออกแบบ Souvenir ของชำร่วยของที่ระลึกหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
   ๑๐. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย"
   ๑๑. กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์
   ๑๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เพลงฉ่อย"
   ๑๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
   ๑๔. กิจกรรมการประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
   ๑๕. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง
   ๑๖. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท
   ๑๗. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)

๓. มีกิจกรรมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ

   มีกิจกรรมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ จำนวน ๑๒ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
   ด้านบริการวิชาการ
   ๑. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการศิลปินถิ่นสวรรค์
   ๒. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
   ๓. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เฉลิมฉลอง ๑๐๒ ปี
   ๔. กิจกรรมสนับสนุน ๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖
   ๕. กิจกรรมสืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
   ๖. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย"
   ๗. กิจกรรมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครสวรรค์
   ๘. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "เพลงฉ่อย"
   ๙. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ระบำอินทราณีเทวีเมืองพระบาง"
   ๑๐. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง
   ๑๑. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : การอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองมะโมง  จังหวัดชัยนาท
   ๑๒. โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)

๔. มีการจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

   มีการจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๖ องค์ความรู้ ดังนี้
   ๑. องค์ความรู้ เรื่อง ตาลโตนดภูมิปัญญาสร้างอาชีพและสร้างสรรค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน The Wisdom of Palmyra Palm (Tan Tanote) to Pursue a Career and Create Community Based Tourism
   ๒. องค์ความรู้ เรื่อง ความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ Beliefs Faith and Spiritual Tourism
   ๓. องค์ความรู้ เรื่อง การถอดแบบลายผ้าทอกะเหรี่ยง อัตลักษณ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น “พุเมยง์” ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
   ๔. องค์ความรู้ เรื่อง เสียงเพรียกจากอดีตสู่ความร่วมสมัยไทย – จีน ประสานเสียงเพลงบอกรัก
   ๕. องค์ความรู้ เรื่อง “สมบัติครู” : ครูบุญสม อินทาปัจ กับคลังความรู้เทปเพลงไทย
   ๖. องค์ความรู้ เรื่อง ไซ-ไฟ สร้างชาติ

๕. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

   มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน ๔ ช่องทาง ดังนี้
   ๑. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการ องค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านทางจดหมายข่าว ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
   ๒. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านทางเว็บไซต์ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
   ๓. มีการเผยแพร่กิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่าน facebook ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
   ๔. มีการเผยแพร่สื่อด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านสื่อออนไลน์ YouTube สถานีวัฒนธรรม Arts and Culture NSRU    

๖. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น

   มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน ๒ แหล่ง ดังนี้
   ๑. แหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์
   ๒. ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์


ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

บรรลุ/
ไม่บรรลุ

แผน

ผล

๑. มีกิจกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓ กิจกรรม/โครงการ

๔ กิจกรรม/โครงการ

/

๒. มีกิจกรรมการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๗ กิจกรรม/โครงการ

๑๗ กิจกรรม/โครงการ

/

๓. มีกิจกรรมการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ

๔ กิจกรรม/โครงการ

๑๒ กิจกรรม/โครงการ

/

๔. มีการจัดทำองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๖ องค์ความรู้

๖ องค์ความรู้

/

๕. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๓ ช่องทาง

๔ ช่องทาง

/

๖. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑ แหล่ง

๒ แหล่ง

/

รวม

คิดเป็นร้อยละ

๑๐๐

   สรุปผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีดังนี้
   จำนวนกิจกรรม/โครงการ  ๒๒  โครงการ
   บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย  ๒๒  โครงการ
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   จำนวนตัวชี้วัดของแผน  ๖  ตัวชี้วัด
   บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย จำนวน  ๖  ตัวชี้วัด
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

   งบประมาณที่ได้รับ จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน  ๑,๓๕๒,๐๐๐  บาท
   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐      

   ข้อเสนอแนะจากผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ มีดังนี้
   ๑. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการเกี่ยวกับด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่นของท้องถิ่น และพัฒนาให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
   ๒. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น
   ๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการร่วมกับชุมชนในการพัฒนาอาชีพโดยนำศิลปะและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

 

 

 

หลักฐาน
๒-NSRU-๔/๑  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒-NSRU-๔/๒  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒-NSRU-๔/๓  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๒-NSRU-๔/๔  รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน

นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

     ผลการดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำข้อเสนอแนะจากผลการดำเนินงานตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ไปพัฒนากิจกรรม/โครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนปรับปรุงและพัฒนาแผนงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในปีการศึกษา ๒๕๖๗  ดังนี้
   ผลการปรับปรุงแผน/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ จากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีดังนี้
   ๑. ในปีการศึกษา ๒๕๖๗ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดตั้งงบประมาณในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่นของท้องถิ่น และพัฒนาให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
      ๑.๑ กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย”
      ๑.๒ กิจกรรมการถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท ปีที่ ๗
      ๑.๓ กิจกรรมการแข่งขัน “เล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์”
      ๑.๔ กิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรม
   ๒. ในปีการศึกษา ๒๕๖๗ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดตั้งงบประมาณในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
       ๒.๑ กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
       ๒.๒ กิจกรรมรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
   ๓. ในปีการศึกษา ๒๕๖๗ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดตั้งงบประมาณในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการให้กับชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพโดยนำศิลปะและวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ดังนี้
      ๓.๑ กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
      ๓.๒ กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
      ๓.๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนและชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

 

 

                                                                                                                                                                                                                               

 

หลักฐาน
๒-NSRU-๕/๑  (ร่าง) แผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗

มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้ หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่

     ผลการดำเนินการ

   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้ หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ ดังนี้
 
   แหล่งเรียนรู้
   แหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์
   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมและโรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ได้สร้างความร่วมมือเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ โดยมีการจัดทำนิทรรศการแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยมีข้อมูลประกอบนิทรรศการ ดังนี้  ข้อมูลประวัติศาสตร์นครสวรรค์  ข้อมูลจังหวัดนครสวรรค์  ข้อมูลต้นแม่น้ำเจ้าพระยา  ข้อมูลวิถีศิลป์การกินอยู่  ข้อมูลอุทยานแห่งชาติแม่วงก์  ข้อมูลทุ่งหินเทิน  ข้อมูลบึงบอระเพ็ด  ข้อมูลอุทยานสวรรค์  ข้อมูลเขาหน่อ – เขาแก้ว  ข้อมูลถ้ำเพชร – ถ้ำทอง  ข้อมูลการเสด็จพระราชกรณียกิจและเยี่ยมเยือนราษฎร ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์  ข้อมูลอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์  และข้อมูลประวัติโรงเรียนบ้านปางขนุน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง สัมผัสและจับต้องได้ ทั้งนี้ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ไม่ได้มีเฉพาะต่อบุคคลในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไป ชุมชน และผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลที่เป็นระบบด้วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะจากภายนอกห้องเรียน

   ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
   สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และวนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้สร้างความร่วมมือเพื่อสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและวนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการจัดทำนิทรรศการแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ทางธรณี จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีข้อมูลประกอบนิทรรศการ ดังนี้ ข้อมูลประวัติความเป็นมาของวนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง (Tham Phet Tham Thong Forest Park)  ข้อมูลมาตราธรณีกาล (Geologic Time Scale)  ข้อมูลแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ยุคเพอร์เมียน PERMIAN ที่สำคัญในประเทศไทย  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด (Fusulinids)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ปะการัง (Corals)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์แบรคคิโอพอด (Brachiopod)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์มอลลัสก์ (Mollusc)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ฟองน้ำ (Sponge)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ก้านไครนอยด์ (Crinoid Stem)  ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ไบรโอซัว (Bryozoa)  ข้อมูลหลวงพ่อรุ่ง (ถ้ำเพชร)  ข้อมูลพระแสงศรกำลังราม  ข้อมูลถ้ำวังไข่มุก (Tham Wang Khai Muk)  ข้อมูลถ้ำประดับเพชร (Tham Bpra-dap Pet)  ข้อมูลถ้ำมรกต (Tham Morakot)  ข้อมูลถ้ำประกายเพชร (Tham Prakai Phet)  ข้อมูลถ้ำเพชรคิงคอง (Tham Phet King Kong)  ข้อมูลถ้ำวิมานลอย (Tham Wiman Loi)  ข้อมูลถ้ำเพชรน้ำผึ้ง (Tham Pet Naam Peung)  ข้อมูลพันธุ์พืชที่พบในวนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง  และข้อมูลพันธุ์สัตว์ที่พบในวนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง  ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพจากประสบการณ์ตรง สัมผัสและจับต้องได้ ทั้งนี้ความสำคัญของศูนย์การเรียนรู้ ไม่ได้มีเฉพาะต่อบุคคลในวนอุทยานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบุคคลทั่วไป ชุมชน และผู้ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และก่อให้เกิดการจารึกข้อมูลที่เป็นระบบด้วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะจากภายนอกห้องเรียน

   องค์ความรู้
   ๑. องค์ความรู้ เรื่อง ตาลโตนดภูมิปัญญาสร้างอาชีพและสร้างสรรค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน The Wisdom of Palmyra Palm (Tan Tanote) to Pursue a Career and Create Community Based Tourism  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ติยะภรณ์  เหลืองพิพัฒน์  อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์  และ อาจารย์ธนิดา  จอมยิ้ม  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
   ๒. องค์ความรู้ เรื่อง ความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ Beliefs Faith and Spiritual Tourism  โดยอาจารย์ธนิดา  จอมยิ้ม  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์  และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ติยะภรณ์  เหลืองพิพัฒน์  อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
   ๓. องค์ความรู้ เรื่อง การถอดแบบลายผ้าทอกะเหรี่ยง อัตลักษณ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น “พุเมยง์” ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันยาพร  กุณฑลเสพย์  อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
   ๔. องค์ความรู้ เรื่อง เสียงเพรียกจากอดีตสู่ความร่วมสมัยไทย – จีน ประสานเสียงเพลงบอกรัก  โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัชชญา  กัญจา  อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
   ๕. องค์ความรู้ เรื่อง “สมบัติครู” : ครูบุญสม อินทาปัจ กับคลังความรู้เทปเพลงไทย  โดยอาจารย์   วรรณวลี  คำพันธ์  อาจารย์สาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
   ๖. องค์ความรู้ เรื่อง ไซ-ไฟ สร้างชาติ  โดยรองศาสตราจารย์พรรษประเวศ  อชิโนบุญวัฒน์              รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

 

 

 

หลักฐาน
๒-NSRU-๖/๑  ภาพถ่ายแหล่งเรียนรู้โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์
๒-NSRU-๖/๒  ภาพถ่ายศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน วนอุทยานถ้ำเพชร – ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
๒-NSRU-๖/๓  องค์ความรู้ เรื่อง ตาลโตนดภูมิปัญญาสร้างอาชีพและสร้างสรรค์การท่องเที่ยวโดยชุมชน The Wisdom of Palmyra Palm (Tan Tanote) to Pursue a Career and Create Community Based Tourism
๒-NSRU-๖/๔  องค์ความรู้ เรื่อง ความเชื่อ ความศรัทธา กับการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ Beliefs Faith and Spiritual Tourism
๒-NSRU-๖/๕  องค์ความรู้ เรื่อง การถอดแบบลายผ้าทอกะเหรี่ยง อัตลักษณ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น “พุเมยง์” ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
๒-NSRU-๖/๖  องค์ความรู้ เรื่อง เสียงเพรียกจากอดีตสู่ความร่วมสมัยไทย – จีน ประสานเสียงเพลงบอกรัก
๒-NSRU-๖/๗  องค์ความรู้ เรื่อง “สมบัติครู” : ครูบุญสม อินทาปัจ กับคลังความรู้เทปเพลงไทย
๒-NSRU-๖/๘  องค์ความรู้ เรื่อง ไซ-ไฟ สร้างชาติ




กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

     ผลการดำเนินการ

  

      

 


  

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ
๖ ข้อ
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่ ๒
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๖ ข้อ