:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๕
๑.๒ หอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
          จังหวัดนครสวรรค์มีบทบาทและความสำคัญ ทั้งในฐานะที่เป็นแหล่งชุมชนโบราณแหล่งวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน แหล่งศิลปหัตถกรรม และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติแต่ยังขาดศูนย์กลาง
ที่จะประชาสัมพันธ์เรื่อง ราวและบอกเล่าถึงความสำคัญเหล่านั้นให้เป็นที่แพร่หลายแม้แต่ชาวจังหวัด นครสวรรค์เองให้ได้รับรู้  ด้วยเหตุนี้คณะอนุกรรมการวัฒนธรรรมจังหวัดนครสวรรค์จึงมีมติให้จัดตั้งหอ วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นในบริเวณเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ด้านหน้าสถาบันราชภัฏนครสวรรค์โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          ๑. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถให้บริการการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เรื่องราวของจังหวัดนครสวรรค์ ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่เรื่องราวของท้องถิ่น
          ๒. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์แก่นักท่องเที่ยวที่เข้า มาใช้บริการ
          ๓. เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ การแสดงและกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแล้วยังเป็นแหล่งท่อง เที่ยวที่สำคัญของ
จังหวัดนครสวรรค์อีกแห่งหนึ่งด้วยสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ใน ขณะนั้น ได้รับงบประมาณ
๘ ล้านบาท จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อจัดสร้างหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส
ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ อาคารนี้จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของพสกนิกรชาวนครสวรรค์ด้วย พร้อมกันนี้ได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน
ในพิธีเปิดหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการพัฒนาการ ของวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕ หอวัฒนธรรมประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้
               ๑. ห้องโสฬส ใช้จัดนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรมระยะยาวหมุนเวียนไปตามเนื้อหาและ
วัตถุประสงค์ ในรูปของศิลปวัตถุ ชิ้นส่วนโบราณสถาน เครื่องมือเครื่องใช้สมัยโบราณ ฯลฯ ทั้งที่พบในจังหวัดนครสวรรค์และส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย
               ๒. ห้องนิมมานนรดี ใช้จัดนิทรรศการชั่วคราวเป็นระยะๆ เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ และด้านการท่องเที่ยว
               ๓. ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร ใช้สำหรับจัดการแสดงการละเล่นพื้นบ้านฉายสไลด์
ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและการ ท่องเที่ยว ตลอดจนการประกวดกิจกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและ
การอบรมสัมมนา
               ๔. ห้องศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับใช้บริการการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องราวของจังหวัดนครสวรรค์ ในด้านต่างๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในรูปของ เอกสารตำรา งานวิจัย สมุดข่อย ใบลาน จดหมายเหตุ แผนที่ ภาพถ่าย สไลด์ เทปบันทึกเสียง และวีดีโอเทป
               ๕. ห้องประชาสัมพันธ์ ใช้เป็นสถานที่ติดต่อประสานงานของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และงานประชาสัมพันธ์ของหอวัฒนธรรม
               ๖. ห้องดุสิตา เป็นห้องที่ใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดหอวัฒนธรรม
          ส่วนภายนอกอาคารประกอบด้วย           
          ลานแสดงกลางแจ้งทางด้านหน้าของอาคารสำหรับจัดกิจกรรมหรือมหกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม
เช่น การแสดงดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น
          จังหวัดนครสวรรค์ได้มอบหมายให้สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ในขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินงานและดูแลหอวัฒนธรรม และสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ได้มอบหมายให้สำนักศิลปวัฒนธรรม ดำเนินงานภาระหน้าที่ในสายงาน