พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสำนักและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนัก/สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสำนัก และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ผลดำเนินการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีกระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์โดยการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร และบุคลากร ตั้งแต่การทบทวนผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณที่ผ่านมา มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรทั้งภายใน-ภายนอก เพื่อกำหนด กลยุทธ์ และทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เพื่อนำผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรไปใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
๑. สำนักฯ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานสำหรับจัดทำและพัฒนาแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและแผนปฏิบัติการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๒. สำนักฯ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกคนร่วมกันวิเคราะห์สภาวะองค์กร หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ของสำนักฯ และนำไปสู่การจัดทำรายงานการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร กำหนดกลยุทธ์ และทบทวนปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสำนักฯ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน โดยให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และสอดคล้องตามกรอบแผนอุดมศึกษาและแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ ซึ่งจากการวิเคราะห์ SWOT และการจัดทำ TOWS Matrix มีดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายใน
ประเด็น |
จุดแข็ง (S) |
จุดอ่อน (W) |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย |
๑. จังหวัดมีนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการร่วมกัน
๒. โครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอกในเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
๓. ได้รับความร่วมมือจากวิทยากร หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีที่ปรึกษาทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สามารถให้ความรู้ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้ |
๑. นโยบายมหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
๒. บุคลากรที่ดำเนินงานประสานงานในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย และมีภาระงานจำนวนมาก จึงไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
๓. การนำผลการบริการวิชาไปพัฒนางานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน
๔. คนรุ่นใหม่ยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
๒. อยู่ในแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถศึกษาข้อมูลได้จากภายนอก
๔. มีปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน นักวิชาการจากภายนอกในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม |
๑. ขาดการสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
๒. เยาวชนมีความสนใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมในอดีตน้อย
๓. หน่วยงานในระดับท้องถิ่น คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. ยังไม่มีพื้นที่ทางโบราณคดี ศิลปกรรมท้องถิ่น ที่โดดเด่น ชัดเจน |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. มีหน่วยงานภายนอกที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. มีองค์ความรู้จากภายนอกที่เกิดจากโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถนำมาศึกษาข้อมูลได้
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน
๔. มีตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ |
๑. หน่วยงานภายนอกมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมได้ในบางครั้ง
๓. เนื่องจากสถานการณ์ Covid-๑๙ ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ชุมชนได้
๔. เนื่องจากสถานการณ์ Covid-๑๙ ทำให้ไม่สามารถจัดตลาดวัฒนธรรม เพื่อจำหน่ายผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมได้ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. มีระบบฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากภายนอกที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้
๒. มีระบบสารสนเทศที่หลากหลายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้
๓. มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีระบบฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมภายนอกที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
๕. มีช่องทางที่หลากหลายในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล |
๑. ประชาชนให้ความสนใจในการสืบค้นข้อมูลด้านเทคโนโลยีวัฒนธรรมน้อย
๒. เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ประชาชนมีความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมน้อย
๓. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่เป็นปัจจุบัน
๔. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
๕. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม |
๑. มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอก
๒. มีองค์กรภายนอกในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมร่วมกัน
๓. มีการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายนอก
๔. สามารถของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากเครือข่ายความร่วมมือภายนอก |
๑. การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกขาดความต่อเนื่องเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร
๒. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดโครงการ/กิจกรรมบางครั้งยังมีข้อจำกัด
๓. การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกบางครั้งยังมีข้อผิดพลาด
๔. การประสานงานและการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกล่าช้าในบางเรื่อง |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล |
๑. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถานศึกษา
๒. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
๔. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ |
๑. นโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลยังขาดความยืดหยุ่น
๒. การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
๓. ขาดระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่เชิงพาณิชย์
๔. มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน |
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอก
ประเด็น |
โอกาส (O) |
อุปสรรค (T) |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย |
๑. จังหวัดมีนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมที่ชัดเจนในการดำเนินการร่วมกัน
๒. โครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการได้รับความสนใจจากบุคคลภายนอกในเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
๓. ได้รับความร่วมมือจากวิทยากร หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีที่ปรึกษาทางวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่สามารถให้ความรู้ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้ |
๑. นโยบายมหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
๒. บุคลากรที่ดำเนินงานประสานงานในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย และมีภาระงานจำนวนมาก จึงไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่
๓. การนำผลการบริการวิชาไปพัฒนางานทางด้านศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน
๔. คนรุ่นใหม่ยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
๒. อยู่ในแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. มีแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถศึกษาข้อมูลได้จากภายนอก
๔. มีปราชญ์ชาวบ้าน คนในชุมชน นักวิชาการจากภายนอกในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม |
๑. ขาดการสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
๒. เยาวชนมีความสนใจในการเรียนรู้วัฒนธรรมในอดีตน้อย
๓. หน่วยงานในระดับท้องถิ่น คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการรวบรวมข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. ยังไม่มีพื้นที่ทางโบราณคดี ศิลปกรรมท้องถิ่น ที่โดดเด่น ชัดเจน |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. มีหน่วยงานภายนอกที่มีความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. มีองค์ความรู้จากภายนอกที่เกิดจากโครงการ/กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สามารถนำมาศึกษาข้อมูลได้
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับคนในชุมชน
๔. มีตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ |
๑. หน่วยงานภายนอกมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๒. คนในชุมชนมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบทำงานมาก ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมได้ในบางครั้ง
๓. เนื่องจากสถานการณ์ Covid-๑๙ ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ชุมชนได้
๔. เนื่องจากสถานการณ์ Covid-๑๙ ทำให้ไม่สามารถจัดตลาดวัฒนธรรม เพื่อจำหน่ายผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมได้ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น |
๑. มีระบบฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากภายนอกที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้
๒. มีระบบสารสนเทศที่หลากหลายสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมได้
๓. มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม
๔. มีระบบฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมภายนอกที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
๕. มีช่องทางที่หลากหลายในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล |
๑. ประชาชนให้ความสนใจในการสืบค้นข้อมูลด้านเทคโนโลยีวัฒนธรรมน้อย
๒. เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ประชาชนมีความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรมน้อย
๓. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่เป็นปัจจุบัน
๔. ข้อมูลในระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกบางส่วนยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
๕. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจากภายนอกยังมีจำนวนน้อย |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม |
๑. มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากภายนอก
๒. มีองค์กรภายนอกในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมร่วมกัน
๓. มีการดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายนอก
๔. สามารถของบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมจากเครือข่ายความร่วมมือภายนอก |
๑. การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกขาดความต่อเนื่องเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร
๒. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดโครงการ/กิจกรรมบางครั้งยังมีข้อจำกัด
๓. การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกบางครั้งยังมีข้อผิดพลาด
๔. การประสานงานและการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกล่าช้าในบางเรื่อง |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล |
๑. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถานศึกษา
๒. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน
๓. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร
๔. มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ |
๑. นโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาลยังขาดความยืดหยุ่น
๒. การจัดสรรงบประมาณไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
๓. ขาดระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่เชิงพาณิชย์
๔. มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน |
สรุปการวิเคราะห์ค่าน้ำหนัก คะแนน ประเด็นสภาพแวดล้อมภายใน
ประเด็น |
น้ำหนัก |
สรุปผลการวิเคราะห์ |
สภาพแวดล้อมภายใน |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ |
๐.๑๗ |
๐.๐๕ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๑ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๑ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๒ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ |
๐.๑๖ |
๐.๐๕ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ |
๐.๑๖ |
๐.๐๕ |
รวม |
๑.๐๐ |
๐.๑๑ |
สรุปการวิเคราะห์ค่าน้ำหนัก คะแนน ประเด็นสภาพแวดล้อมภายนอก
ประเด็น |
น้ำหนัก |
สรุปผลการวิเคราะห์ |
สภาพแวดล้อมภายนอก |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๒ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๑ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๓ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ |
๐.๑๗ |
-๐.๐๒ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ |
๐.๑๖ |
๐.๐๔ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ |
๐.๑๖ |
-๐.๐๓ |
รวม |
๑.๐๐ |
-๐.๐๗ |
กราฟวิเคราะห์ตำแหน่งยุทธศาสตร์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สถานภาพของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ในตำแหน่ง CASH COW “ไม่เอื้อแต่แข็ง” ST (ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรค) เนื่องจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ แม้ว่าสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่สำนักศิลปะและวัฒนธรรมสามารถใช้กลยุทธ์ในการดำเนินงานที่เป็นจุดแข็งที่มีเพื่อสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่น ๆ แทน
การวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ SWOT analysis (TOWS Matrix)
SO Strategies
(รุกไปข้างหน้า) |
WO Strategies
(พัฒนาภายใน) |
๑. จัดโครงการ/กิจกรรมวันสำคัญของชาติ และวันสำคัญทางศาสนา อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
๒. จัดโครงการ/กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป
๓. พัฒนาหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๕. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน
๖. จัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๗. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ให้มีความทันสมัย น่าสนใจ
๘. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านศิลปวัฒนธรรม ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครอบคลุม
๙. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างหลากหลาย |
๑. ของบประมาณสนับสนุนการจากชุมชน หน่วยงานภายใน ภายนอก ในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาหอวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้
๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานที่หลากหลายด้าน
๓. สร้างความร่วมมือจากหน่วยงานภายในหรือภายนอกในด้านบุคลากร สำหรับการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านอื่น ๆ ร่วมกัน
๔. ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านได้ถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อรวบรวมเป็นองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมให้ครอบคลุมทุกด้าน
๖. สร้างรูปแบบการติดตาม ตรวจสอบผลการบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงผลการนำไปใช้ประโยชน์
๗. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีการจัดทำหลายภาษา
๘. จัดโครงการ/กิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับบุคลากรในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
๙. ทำการสำรวจความต้องการในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดโครงการ/กิจกรรม |
ST Strategies
(สร้างพันธมิตร) |
WT Strategies
(ปรับเปลี่ยน) |
๑. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมให้ความรู้กับบุคคลภายนอก เยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
๒. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป
๓. ปรับปรุงหอวัฒนธรรมให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์
๔. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรม/โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
๕. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ แล้วนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลความรู้
๖. สร้างความร่วมมือกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมในการพัฒนางานร่วมกัน
๗. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ
๘. ทำการวางแผนการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในแต่ละไตรมาสโดยมอบหมายให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบในแต่ละโครงการ/กิจกรรม
๙. พัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
๑. ของบประมาณสนับสนุนจากภายนอกในการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม และปรับปรุงหอวัฒนธรรมจังหวัดนคสวรรค์
๒. สนับสนุนกิจกรรม/โครงการด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ความรู้กับบุคคลภายนอก เยาวชน คนรุ่นใหม่ให้เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
๓. พัฒนาบุคลากรที่มีอยู่โดยส่งไปอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ
๔. สร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อลดปัญหาเรื่องจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ
๕. จัดทำระบบและกลไกในการติดตาม ตรวจสอบผลการบริการวิชาการ เพื่อให้ทราบถึงผลการพัฒนางานด้านศิลปวัฒนธรรม
๖. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำผลงานผลิตภัณฑ์ด้านศิลปวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
๗. พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เป็นสื่อสากล
๘. ปรับปรุงข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
๙. วางแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการให้มีความละเอียด ชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
ผลการวิเคราะห์ SWOT นำไปสู่การปรับเปลี่ยน ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ของสำนักฯ ให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานมากขึ้น ดังนี้
ปรัชญา (คงเดิม)
ศิลปวัฒนธรรมเป็นรากฐานความเข้มแข็งของท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ (คงเดิม)
แหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมชั้นนำของท้องถิ่น โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
พันธกิจ (คงเดิม)
๑. สืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
๒. ส่งเสริมการเรียนรู้และการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๔. พัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๕. สร้างภาคีเครือข่ายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๖. ยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ด้วยหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ (คงเดิม)
๑. การสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
๒. การยกระดับแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓. การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๔. การพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๕. การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๖. การยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ (คงเดิม)
๑. นักศึกษา บุคลากร และชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสืบสาน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
๒. มีแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
๓. องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการค้นคว้า รวบรวมตามหลักวิชาการ และได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน
๔. มีผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่สร้างประโยชน์หรือมูลค่าเพิ่มให้ชุมชนท้องถิ่น
๕. มีการพัฒนาฐานข้อมูล และสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๖. มีภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับองค์กรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
๗. มีการบริหารจัดการงานที่ดีมีคุณภาพและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เอกลักษณ์
ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น
๓. เมื่อมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติการ ๔ ปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๗) เรียบร้อยแล้ว สำนักฯ ได้แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗ และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และ ๒๕๖๖ โดยมีการกำหนดกิจกรรม/โครงการ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดำเนินงาน และกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายเพื่อวัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผน
๔. มีการนำแผนกลยุทธ์ (แผนปฏิบัติการ ๔ ปี ๒๕๖๔- ๒๕๖๗) , แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ๔ ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๗ , แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และ ๒๕๖๖ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนัก และคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
๕. มีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ และติดตามผลการใช้งบประมาณผ่านรายงานสรุปผลการติดตามและประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ และคณะกรรมการประจำสำนักฯ พิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ดังนี้
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (รอบ ๖ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ระบบออนไลน์ Google Meet (รอบ ๙ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๖/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ (รอบ ๑๒ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ ระบบออนไลน์ Google Meet (รอบ ๙ เดือน)
- การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และระบบออนไลน์ Google Meet (รอบ ๑๒ เดือน)
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือน รอบ ๙ เดือน และรอบ ๑๒ เดือน มีดังนี้
รอบ ๖ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๓ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๘ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๕๕
ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๐ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๕๐
งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๑,๘๒๕,๗๕๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๔๒๓,๓๙๔.๙๒บาท คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๑๙
รอบ ๙ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๓ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๒๘ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๘๕
ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๕ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๗๕
งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๑,๙๖๗,๗๕๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๑,๕๑๘,๗๙๔.๙๒ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๑๘
รอบ ๑๒ เดือน
จำนวนกิจกรรม/โครงการ ทั้งหมด ๓๓ กิจกรรม/โครงการ มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๓๓ กิจกรรม/โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ตัวชี้วัดความสำเร็จในแผน จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด มีการดำเนินการบรรลุเป้าหมาย จำนวน ๑๖ ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
งบประมาณที่ได้รับ ทั้งหมดจำนวน ๒,๐๙๗,๗๕๐ บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน ๒๐๖๙๕๙๔.๙๒บาท คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๖๖
๖. ได้มีการนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี หรือกิจกรรม/โครงการ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
๖.๑ มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
๖.๒ มีการจัดกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายถอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์
๖.๓ มีการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายถอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
๖.๔ มีการจัดกิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์
๖.๕ มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย”
๖.๖ มีการจัดกิจกรรมการถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท ปีที่ ๕
๖.๗ มีการจัดกิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน ๒๕๖๖
๖.๘ มีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน “เล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์”
๖.๙ มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาฐานข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรม
๖.๑๐ มีการจัดกิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
๖.๑๑ โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
๖.๑๒ โครงการศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
|