:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๕
ตัวบ่งชี้เพื่มเติม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้เพิ่มเติมที่ ๔. จำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างองค์ความรู้ และนำไปถ่ายทอดหรือสามารถสร้างคุณค่าต่อผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

      ศิลปะ คือ ความงาม คุณค่าของความงามคือการสร้างสรรค์ เป็นสุทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ  โดยศิลปะจะรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน ที่นับเป็นศาสตร์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น
     วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมีความเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม สามารถแสดงออกทาง ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ บางครั้งอาจว่าด้วยการบริโภค ความสัมพันธ์ทางสังคม แนวทางการปฏิบัติ การหลอมรวมอยู่ด้วยกัน
     ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
     องค์ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดจากประสบการณ์ หรือ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล โดยความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นผู้รับสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง หรือสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์หรืองานที่กระทำอยู่ และสามารถนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้
     การถ่ายทอด หมายถึง การนำภูมิปัญญา ข้อมูล องค์ความรู้ ไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ
     การสร้างคุณค่า คือ กระบวนการสำคัญที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือส่งผลต่อการบรรลุพันธกิจหลักของส่วนราชการ



เกณฑ์มาตรฐาน :

         ใช้คะแนนจากจำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างองค์ความรู้ และนำไปถ่ายทอดหรือสามารถสร้างคุณค่าต่อผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (คะแนนเต็ม ๕)


เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน  ๑

คะแนน   ๒

คะแนน   ๓

คะแนน ๔

คะแนน ๕

๑ – ๒   
กิจกรรม/โครงการ

๓ – ๔ 
กิจกรรม/โครงการ

๕ – ๖   
กิจกรรม/โครงการ

๗ – ๘   
กิจกรรม/โครงการ

๙ – ๑๐   
กิจกรรม/โครงการ




การประเมินตนเอง (SAR)

 
ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ ผศ.ธีรพร  พรหมมาศ เบอร์โทรภายใน : ๑๔๒๕
  รศ.พรรษประเวศ  อชิโนบุญวัฒน์ เบอร์โทรภายใน : ๑๑๓๗ 
  ผศ.ดร.เพียงพิศ  ชะโกทอง  
ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล : นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์ บอร์โทรภายใน : ๑๑๓๕
 
เกณฑ์มาตรฐาน :

ข้อ
เกณฑ์การประเมิน

จำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างองค์ความรู้ และนำไปถ่ายทอดหรือสามารถสร้างคุณค่าต่อผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

   ผลดำเนินการ

   มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างองค์ความรู้ และนำไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จำนวน ๑๒ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
   ๑. กิจกรรมการแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น) ระหว่างวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน – ๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๖๕  รูปแบบออนไลน์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)  ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครสวรรค์
   ๒. กิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน ๒๕๖๖ : การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ วันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ บริเวณลานเวทีกลาง ลานมังกรทอง อุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ “เรื่องเล่าชาวจีนปากน้ำโพ”  โดยวิทยากร ๑. คุณสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ (ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์)  ๒. คุณสันติ คุณาวงศ์ (กรรมการประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์) ๓. รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง (คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์) ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร (รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์)  ให้กับชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป
   ๓. กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์” วันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการบรรยายและสาธิตการทำข้าวโปง  การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และการจัดเตรียมวัตถุดิบ และสาธิตการทำข้าวเม่าทอด  โดยวิทยากร ๑. นางสมปอง อินทับ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์  ๒. นางบังอร  จูมลี  ๓. นางจารุวรรณ  อรรถอาภา  ๔. นางสุนทร  มีสอน  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
   ๔. โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์) ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ หอประชุม โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการจับจีบผ้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก การทำขนมลูกชุบ และการทำโมเดลทำมือ  โดยวิทยากร ๑. นายอริสรา ไทยรัตนกุล  ๒. นายพีระพงษ์  จิตอามาตย์  ๓. นางสาคร  ดีปานแก้ว  ๔. นางวรรณรัตน์  พุ่มพวง  ๕. นายณัฐดนัย  รื่นภิรมย์  ๖. นางสาวพนิดา  อิ่มเงิน  ให้กับนักเรียนโรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์  คุณครูและผู้ปกครอง
   ๕. กิจกรรมเสริมเสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น : เสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นราชภัฏ วันอังคารที่ ๑๔ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมพระบาง อาคาร ๑๕ ชั้น ๔  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการจัดนิทรรศการชุด “๑๔ กุมภาพันธ์ วันพระราชทานนาม ราชภัฏ”  ให้กับนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากร
   ๖. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด” วันพฤหัสบดีที่ ๑๖  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู  โรจนเสถียร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและฝึกปฏิบัติทำเครื่องประดับจากงานปั้น และการออกแบบและฝึกปฏิบัติทำเครื่องประดับจากเชือกถัก  โดยวิทยากร ๑. ผศ.ดร.ยุวดี ทองอ่อน  ๒. ผศ.ดร.สุจิตรา อยู่หนู  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
   ๗. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ วันอังคารที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖  ณ ห้องประชุมพระบาง อาคาร ๑๕ ชั้น ๔ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านนิทรรศการผลงานของ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖”  โดยมีศิลปินที่ได้รับรางวัล ดังนี้ ๑. นายนิพนธ์  เที่ยงธรรม  ๒. นายวัฒนโชติ  ตุงคะเตชะ  ๓. คณะมังกรทอง จ้าวพ่อ-จ้าวแม่ปากน้ำโพ  ๔. กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ นครสวรรค์  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
   ๘. โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖  ณ  หอประชุมมณเฑียร โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการปักผ้าทอพื้นเมือง  การทำไม้กวาดดอกหญ้า  ศิลปะการรำลาวครั่งกุดจอก  โดยวิทยากร ๑. คุณสมพิศ  อ่อนสิงห์  ๒. คุณไพรรี  วงษ์นุ่ม  ๓. คุณสุภาวดี  จันทร์ศรี  ๔.คุณสายฝน  ศรีนางแย้ม  ๕. คุณอรุณ  สีคาวี  ๖. คุณนิยดา  พลายอินทร์  ๗. คุณอรัญญา  ช้างหัวหน้า  ๘. คุณสมมาต  ยุซิ  ๙. คุณรังษินี  โชคลาภ  ให้กับนักเรียนโรงเรียนศรีสโมสรวิทยา คุณครูและผู้ปกครอง
   ๙. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย” ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมชอนตะวัน และห้องประชุมพระบาง ชั้น ๔ อาคาร ๑๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย เทคนิคการปรับวงดนตรีไทย : กลุ่มเครื่องดีด เครื่องสีไทย เครื่องตี และเครื่องเป่าไทย และฝึกปฏิบัติ เรื่อง “บทเพลงเทิดพระเกียรติและบทเพลงพระราชนิพนธ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และกลวิธีการบรรเลง”  โดยวิทยากร  ๑. อาจารย์ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล  ๒. อาจารย์วาคภัฏ ศรีวรพจน์  ๓. อาจารย์กฤติเดช อารมย์อุ่น  ๔. ร้อยตรีทรงศักดิ์ เสณีพงษ์  ๕. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ  ๖. อาจารย์วรรณวลี คำพันธ์  ให้กับนักเรียน นักศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
   ๑๐. กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ  ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ของวงปีพาทย์มอญ และ “เปิงมาง” หรือ “เปิงมางคอก”  และการบูรณาการองค์ความรู้ ศิลปะการแสดง และเทคนิคต่าง ๆ ของวงปีพาทย์มอญ “เปิงมาง” โดยวิทยากร  ๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิติ  เอมโอด  ๒. นายทรงเกียรติ  จันทร์หอม  ๓. นายวิริยะ  สาระเกตุ  ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา  จันทร์ดี  ๕. นายณัฐวุฒิ  แสงดี  ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป               
   ๑๑. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ วันอังคารที่ ๑๓  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖  ณ  สตูดิโอ ๕๖ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดการทำงานศิลปะ  การสร้างสรรค์ลายเส้น สู่งานศิลปะ  การออกแบบ และสร้างสรรค์แม่พิมพ์สำหรับทำภาพพิมพ์  และเทคนิคและกรรมวิธีทำภาพพิมพ์  โดยวิทยากร  คุณวัฒนโชติ  ตุงคะเตชะ  ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖  ให้กับนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจงานด้านศิลปะ
   ๑๒. โครงการ : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน กิจกรรม : ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน วันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ หอประชุม โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์  และวันศุกร์ ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ หอประชุม โรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี  มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับ “มัคคุเทศก์น้อยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน”  โดยวิทยากร  ๑. อาจารย์ชำมะเลียง  เชาว์ธรรม  ๒. อาจารย์เจนจิรา เงินจันทร์  ให้กับนักเรียนโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และนักเรียนโรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการ ดังนี้

 

กิจกรรม/โครงการ

ศิลปวัฒนธรรม/
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ถ่ายทอด/
สร้างคุณค่า

กลุ่มเป้าหมาย

๑. กิจกรรมการแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครสวรรค์

๒. กิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน ๒๕๖๖ : การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- ชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป

๓. กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์”

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป

๔. โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียนโรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์  คุณครูและผู้ปกครอง

๕. กิจกรรมเสริมเสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น : เสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นราชภัฏ

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่บุคลากร

๖. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป

๗. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป

๘. โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียนโรงเรียนศรีสโมสรวิทยา คุณครูและผู้ปกครอง

๙. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย”

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียน นักศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์

๑๐. กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์

(/) ศิลปวัฒนธรรม
(/) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป               

๑๑. กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจงานด้านศิลปะ

๑๒. โครงการ : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน กิจกรรม : ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน

(/) ศิลปวัฒนธรรม
( ) ภูมิปัญญาท้องถิ่น

(/) ถ่ายทอด
(/) สร้างคุณค่า

- นักเรียนโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และนักเรียนโรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี

 



 

หลักฐาน
๔-NSRU_OC-๑/๑  สรุปกิจกรรมการแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
๔-NSRU_OC-๑/๒  สรุปกิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน ๒๕๖๖ : การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์
๔-NSRU_OC-๑/๓  สรุปกิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์”
๔-NSRU_OC-๑/๔  สรุปโครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)
๔-NSRU_OC-๑/๕  สรุปกิจกรรมเสริมเสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น : เสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นราชภัฏ
๔-NSRU_OC-๑/๖  สรุปกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
๔-NSRU_OC-๑/๗  สรุปกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
๔-NSRU_OC-๑/๘  สรุปโครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนศรีสโมสรวิทยา) : สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนา
๔-NSRU_OC-๑/๙  สรุปกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปะการบรรเลงเครื่องดนตรีและการปรับวงดนตรีไทย”
๔-NSRU_OC-๑/๑๐  สรุปกิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์
๔-NSRU_OC-๑/๑๑  สรุปกิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ
๔-NSRU_OC-๑/๑๒  สรุปโครงการ : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน กิจกรรม : ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน   

 

 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีที่แล้ว

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๘ กิจกรรม/โครงการ
๑๒ กิจกรรม/โครงการ
บรรลุเป้าหมาย
 
การประเมินตนเองปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๙ กิจกรรม/โครงการ
๑๒ กิจกรรม/โครงการ
บรรลุเป้าหมาย
 
ผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินปีนี้

ตัวบ่งชี้
ผลการดำเนินงาน
ตัวบ่งชี้ที่  ๔
เป้าหมายที่กำหนด
ผลของเป้าหมายที่ได้
การบรรลุเป้าหมาย
ค่าคะแนนที่ได้
๙ กิจกรรม/โครงการ