มีการดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
ผลดำเนินการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดทำกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓. การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จตามกิจกรรม/โครงการ และมีการจัดสรรงบประมาณตามกิจกรรม/โครงการ ในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนและท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
๒. เพื่อสร้างผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับชุมชน
๓. เพื่อนำผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
๔. เพื่อนำผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด
๑. จำนวนกิจกรรมหรือโครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๑ กิจกรรม/โครงการ
๒. มีผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๑ ชิ้นงาน
๓. สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน
๔. สามารถสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม จำนวน ๑๘๐,๐๐๐ บาท ดังนี้
กิจกรรม/โครงการ |
งบประมาณ |
๑. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด” |
๓๐,๐๐๐ |
๒. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม |
๕๐,๐๐๐ |
๓. กิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์ |
๑๐๐,๐๐๐ |
มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
๑. จัดทำแบบเสนอกิจกรรม/โครงการ ให้ผู้บริหารพิจารณา ดังนี้
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
- จัดทำแบบเสนอกิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์
๒. ทำการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม/โครงการผ่านบันทึกข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์สำนักฯ Facebook สำนักฯ ดังนี้
- กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด” ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
- กิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และ Facebook สำนักฯ
๓. จัดทำแบบตอบรับการเข้าร่วมอบรมกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ดังนี้
- แบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
๔. จัดทำหนังสือขออนุญาตใช้สถานที่/หนังสือเชิญวิทยากร ดังนี้
- ทำหนังสือเชิญวิทยากร กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
๕. นำโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการทั้งหมดทำเรื่องขอยืมเงินทดรองจ่าย โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- กำหนดการ
- คำสั่ง
- หนังสือเชิญวิทยากร
๖. ดำเนินการจัดกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ๓ กิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ ตลาดท่าเรือคลองคาง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
- กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ ชุมชนเมืองบนโคกไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
- กิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหอศิลป์นครสวรรค์ ข้างแฟรี่แลนด์สรรพสินค้า
๗. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ และข้อเสนอแนะ ดังนี้
- แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
๘. จัดทำหนังสือขอบคุณวิทยากร หลังจากดำเนินกิจกรรม/โครงการเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
- หนังสือขอบคุณวิทยากร กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
๙. ส่งหลักฐานการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ โดยมีรายละเอียดเอกสารแนบ ดังนี้
- โครงการ
- ใบเซ็นชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
- ใบเสร็จรับเงิน/บิลเงินสด
- ใบสำคัญรับเงินวิทยากร
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับจ้าง/ผู้ขาย
๑๐. จัดทำเล่มสรุปผลกิจกรรม/โครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมดในแต่ละกิจกรรม/โครงการ ดังนี้
- สรุปผลกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”
- สรุปผลกิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
- สรุปผลกิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์
มีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม/โครงการในการสร้างผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ดังนี้
๑. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด” วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและฝึกปฏิบัติทำเครื่องประดับจากงานปั้น และการออกแบบและฝึกปฏิบัติทำเครื่องประดับจากเชือกถัก โดยวิทยากร ๑. ผศ.ดร.ยุวดี ทองอ่อน ๒. ผศ.ดร.สุจิตรา อยู่หนู ให้กับกลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
๒. กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๕๖๖ ณ จังหวัดนครสวรรค์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้รับการพัฒนาด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน ๒ ผลิตภัณฑ์ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ยาดมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านพนาสวรรค์
ประชากรส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดสุพรรณบุรี มาสร้างบ้านเรือน และประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกรรม หัตถกรรมทอเสื่อหรือทอผ้า การแปรรูปทางการเกษตร และสมุนไพร เป็นอาชีพเสริมรายได้
ลวดลายที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ เป็นวัฒนธรรมทวารวดีที่เราเรียกกัน นอกจากลักษณะหน้าตาของบ้านเมืองแล้ว ลักษณะหนึ่งคือเรื่องของศาสนาและความเชื่อ ลวดลายของทวารวดีที่มาจากความเชื่อเรื่องโชคลาง ซึ่งเป็นของคู่กับมนุษย์อยู่แล้วเพราะอยากมั่งมีศรีสุข และพิทักษ์รักษากันในทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องโชคลางเรายังพบในปัจจุบัน
ในอดีตสมัยทวารวดีก็พบร่องรอยอันนี้เป็นเครื่องราง ที่เป็นความเชื่อท้องถิ่นจริง ๆ แล้วนำจะเป็น ความเชื่อของผู้คนจะมีอยู่ ๓ เรื่อง คือ
๑. เรื่องการสะเดาะเคราะห์
๒. พิทักษ์รักษาที่สามารถให้คุณประโยชน์
๓. ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลางความมั่งมีศรีสุขจะมีเป็นลักษณะความเชื่อที่ร่วมกันของมนุษย์หลาย ๆ ภูมิภาค และคนในสมัยทวารวดีจากโบราณวัตถุที่เราพบพอบอกได้ว่าคงมีความเชื่อทํานองแบบนี้อยู่เหมือนกัน โดยเราพบเป็น แผ่นดินเผา หรือบนเครื่องปั้นดินเผา ไหบรรจุเงิน ทอง สมบัติทั้งหลาย เครื่องใช้ประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ
ลวดลายที่ใช้ในการออกแบบเป็นลายในระยะที่ ๒ สมัยได้รับอิทธิพลอินเดียตอนแรก เห็นได้โบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผา งาช้างมีลวดลายสลักอย่างงดงามเป็นรูปม้า ๒ ตัว หงส์มีขนเป็นลายคล้ายดอกไม้อย่างวิจิตร และสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาอยู่เป็นแถว เป็นแบบอมราวดี ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศไทยเกือบ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว
เกี่ยวข้องอย่างไรกับชุมชนบ้านบ้านพนาสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากประชากรบ้านพนาสวรรค์เป็นชนชาติพันธ์ที่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ถิ่นอีสาน) มีวัฒนธรรมประเพณีที่นับถือพระพุทธศาสนา เห็นได้จากประเพณีทำบุญหล่อเทียนพรรษา ที่วัดบ้านพนาสวรรค์
จึงนำเอาลวดลายทางพระพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีมาใช้ซึ่งมีความเชื่อที่ร่วมกันของหลาย ๆ ภูมิภาค เห็นได้จากโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบมาใช้ในการออกแบบ และประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางด้านสุขภาพที่ใช้ในการบรรเทาอาการวิงเวียน จึงนำความเชื่อของลวดลายมาใช้ผสมผสานลงในผลิตภัณฑ์ยาดม
รายละเอียด |
ผลิตภัณฑ์เดิม |
ผลิตภัณฑ์ใหม่ |
|
|
ด้านรูปแบบลวดลายกราฟิก |
รูปภาพ และสีสันที่แสดงถึงสมุนไพรที่อยู่ในยาดม |
ลวดลายทางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อในพิทักษ์รักษาด้านสุขภาพดีขึ้น |
รูปแบบขนาด |
พกพาใส่กระเป๋าถือ |
พกพาใส่กระเป๋ากางเกง และกระโปรง |
วัตถุดิบ |
สมุนไพรไทย ๑ กิโลกรัม ประกอบด้วย
ดอกมะลิ กานพลู ผิวมะกรูด เมล็ดพริกไทยดำ ดอกบีบ ใบยาสูบ พิมเสนน้ำ เมลทอล การบูร หัวน้ำหอมมิ้นต์ น้ำมันยูคาลิปตัส
บรรจุได้ ๕๐ ขวด |
สมุนไพรไทย ๑ กิโลกรัม ประกอบด้วย
ดอกมะลิ กานพลู ผิวมะกรูด เมล็ดพริกไทยดำ ดอกบีบ ใบยาสูบ พิมเสนน้ำ เมลทอล การบูร หัวน้ำหอมมิ้นต์ น้ำมันยูคาลิปตัส
บรรจุได้ ๒๐๐ ขวด |
เฉลี่ยต้นทุน |
สมุนไพรไทยยาดม ๑ กิโลกรัมราคา ๘๐๐ บาท
ขวดแก้ว ขวดละ ๑๐ บาท
เฉลี่ยต่อ ๑ ขวด ราคา ๒๖ บาท
รวมการทำยาดมสมุนไพรต่อ ๑ กิโลกรัม เท่ากับ ๑,๓๐๐ บาท |
สมุนไพรไทยยาดม ๑ กิโลกรัมราคา ๘๐๐ บาท
ขวดพลาสติก ขวดละ ๔ บาท
เฉลี่ยต่อ ๑ ขวด ราคา ๘ บาท
รวมการทำยาดมสมุนไพรต่อ ๑ กิโลกรัม เท่ากับ ๑,๖๐๐ บาท |
ราคาขาย |
๔๕ บาทต่อขวด |
๒๐ บาทต่อขวด |
กำไร |
๙๕๐ บาทต่อ ๑ กิโลกรัม |
๒,๔๐๐ บาทต่อ ๑ กิโลกรัม |
การจัดจำหน่าย |
๓๐๐ ขวดต่อเดือน |
๑,๐๐๐ ขวดต่อเดือน |
หมายเหตุ จำนวนขนาดบรรจุของยาดมสมุนไพรพบว่าขนาดใหญ่มีการซื้อซ้ำน้อยกว่าขนาดเล็ก
ยาดมขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวกและทำการหยิบดมมากกว่าขนาดใหญ่
กระเป๋าม้านำโชค
ลวดลายที่ใช้ในการออกแบบเป็นลายในระยะที่ ๒ สมัยได้รับอิทธิพลอินเดียตอนแรก เห็นได้โบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผา งาช้างมีลวดลายสลักอย่างงดงามเป็นรูปม้า ๒ ตัว หงส์มีขนเป็นลายคล้ายดอกไม้อย่างวิจิตร และสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาอยู่เป็นแถว เป็นแบบอมราวดี
ม้า ความเชื่อเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่โบราณยังคงอยู่ในใจชาวไทยหรือแม้กระทั่งชาวจีนที่เชื่อเรื่องสัตว์ในตำนานที่จะนำพาโชคลาภเสริมสิริมงคลเสริมบารมีให้กับบุคคลคนนั้น ตามความเชื่อแล้วม้าเป็นสัตว์ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและยังเป็นสัญลักษณ์ของขุนนางชนชั้นสูง และเป็นสัญลักษณ์ของความรวดเร็ว ว่องไว ซึ่งจะส่งผลในเรื่องของการประสบความสำเร็จ เหมือนที่ใครหลายๆคนเคยได้ยินว่า ม้าเร็ว หรือม้ามงคลควรเป็นม้าที่กำลังวิ่งหรือกระโจนทะยาน
จากความเชื่อที่กล่าวมาด้านต้นจึงนำมาใช้ในการออกแบบกระเป๋าม้านำโชค โดยใช้สีน้ำตาลที่มาจากเครื่องปั้นดินเผา และใช้วัสดุถุงกระสอบกันน้ำเพื่อให้มีความคงทน และเป็นการลดโลกร้อนเมื่อใช้เป็นกระเป๋าใส่สิ่งของแทนถุงพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำสิ่งของต่าง
๓. กิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน ๒๕๖๖ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหอศิลป์นครสวรรค์ ข้างแฟรี่แลนด์สรรพสินค้า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เล็งเห็นคุณค่าการสร้างอัตลักษณ์ของกรด้วยการจัดประกวดการออกแบบลายผ้าบนชุดทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างรูปลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และการประกวดออกแบบมาสคอต เพื่อเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ขององค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสามารถนำชิ้นงานที่ได้ไปพัฒนาและต่อยอดองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการประกวด จำนวน ๓๐ ชิ้นงาน มีผลงานที่ได้รับการคัดสรรจำนวน ๖ ผลงาน
มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้
ประกวดออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์
๑. ชนะเลิศ : น้องพะยอม พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
นายนภดล อนันต์ถาวร
๒.รองชนะเลิศอันดับ ๑ : น้องปัญญา พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
นายทวิช จิตเที่ยง
๓.รองชนะเลิศอันดับ ๒ : น้อง NSRU พร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
นายรุ่งโรจน์ แสงพันธ์
ประกวดการออกแบบลายผ้าชุดทำงานสำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
๑.ชนะเลิศ : ลูกพะยอม พร้อมเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท
นายปัทวี เข็มทอง
๒.รองชนะเลิศอันดับ ๑ : พะยอมถิ่นนครสวรรค์ พร้อมเงินรางวัล ๓,๐๐๐ บาท
นางสาวดรุณี มารารัมย์
๓.รองชนะเลิศอันดับ ๒ : สวรรค์พะยอม พร้อมเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาท
นางสาวจตุพร งามสงวน
|