:: ชื่อหน่วยงาน และประวัติความเป็นมา
:: หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
:: สถานที่ตั้ง
:: ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
:: อาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการ
:: วัสดุ อุปกรณ์ / ครุภัณฑ์
:: งบประมาณ
:: โครงสร้างการบริหารงาน
:: บุคลากร
:: วัฒนธรรมองค์กรของสำนักฯ
:: เป้าหมายและภารกิจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา

:: ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
:: สรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: ผลการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผลการ
ประเมินประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

:: สรุปผลการประเมินตนเองปีการศึกษา ๒๕๖๕

๑.๑๔ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

            สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่เป็น ระเบียบ  มีวิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  มีบุคลากรและงบประมาณในการ
สนับสนุนการดำเนินงานของสำนัก  มีการประเมินคุณภาพภายในสำนักร่วมกัน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบในการดำเนินงาน การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินด้านการ
ประกันคุณภาพที่ชัดเจน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  มีการกำหนดแผน/
กิจกรรมในการดำเนินงาน กำหนดภารกิจของผู้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันทั้งในระดับผู้บริหาร
และผู้ปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติตามภารกิจการประกันคุณภาพ  ตามนโยบายและแผนงานที่กำหนดไว้ชัดเจน  เพื่อการพัฒนาการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  มีการประเมินระบบกลไกการดำเนินการ มีการเตรียมการเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง  มีการใช้สารสนเทศในการประกันคุณภาพมาวิเคราะห์
ปรับปรุงแก้ไข มีการเตรียมการเพื่อรับการตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการตรวจสอบของมหาวิทยาลัย 
การประกันคุณภาพการศึกษามี ๒ ระบบ

               ๑. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
                  เป็น ภารกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของมหาวิทยาลัย
ในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและเป็น หน่วยงานสนับสนุนภารกิจด้านการทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรมของคณะต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
เน้นการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนและความพึงพอใจของชุมชนและสังคม  และการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก  สมศ.
             ๒. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก
                  เป็น บทบาทของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ในการประเมิน มหาวิทยาลัย  กลุ่มสาขาวิชา  (คณะ)  เพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพ
  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน มี ๓ ระบบ
             ๑. การพัฒนาคุณภาพ/การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
             ๒. การตรวจติดตามคุณภาพ (Quality Audit)
             ๓. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
ระบบ
กลไก
๑. การพัฒนาคุณภาพระบบที่สำคัญ คือ
     ๑.๑ มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน
         - เกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น
            จำนวน ๖ ตัวบ่งชี้

     ๑.๒ มาตรฐานการประกันคุณภาพภายนอก
         - ของสมศ., ก.พ.ร.

 

๑. กระบวนการพัฒนาคุณภาพ
    ๑.๑  มีนโยบายการประกันคุณภาพของ
ระดับสำนักฯ
    ๑.๒  มีแผนงานประกันคุณภาพระดับสำนักฯ
    ๑.๓  มีคณะกรรมการประกันคุณภาพของสำนัก
และคณะกรรมการการตรวจติดตามและประเมิน
คุณภาพระดับสำนักฯ
    ๑.๔  สร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพ
ภายในกับหน่วยงานต่างๆ
    ๑.๕  มีผู้รับผิดชอบกำกับดูแลตัวชี้วัดและ
จัดเก็บข้อมูล

๒.  การติดตามคุณภาพ  มีระบบที่สำคัญคือ
         - เกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น
            จำนวน ๖ ตัวบ่งชี้
         - ตัวชี้วัดตาม  ๔  มิติ  ของ ก.พ.ร.

๒.  กระบวนการติดตามคุณภาพ
    ๒.๑  จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทบทวนปรับปรุงหรือ
เทียบเคียงภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
    ๒.๒  มีผู้รับผิดชอบการรายงานประเมินการตนเอง
ตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ 
    ๒.๓  มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR)
    ๒.๔  มีการจัดเก็บหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๓.  การประเมินคุณภาพ  มีระบบที่สำคัญคือ
         -
การรายงานประเมินตนเองของสำนัก
         - การประเมินจากต้นสังกัด
         - การประเมินคุณภาพมาตรฐานจาก
คณะกรรมการภายในหน่วยงาน และ
ภายนอกหน่วยงาน

๓. กระบวนการประเมินคุณภาพ
    ๓.๑  มีคณะกรรมการตรวจสอบรายงานการ
ประเมินตนเอง
    ๓.๒  มีคณะกรรมการตรวจติดตามและประเมิน
ระดับสำนัก
    ๓.๓  เตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมิน
จากภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพ 

 
ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพ  ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

P  -  วางแผนปฏิบัติการโดย

  • จัดทำแผนการปฏิบัติราชการ แผนการประกันคุณภาพ
  • จัดทำคู่มือประกันคุณภาพ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพและคณะกรรมการดำเนินการ
  • กำหนดผู้รับผิดชอบตามรายงานมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้โดยจัดทำตารางการบริหารตามรายมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
  • กำหนดระยะเวลาการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
  • กำหนดแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

D  - ดำเนินการตามแผน

  • ประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจและชี้แจงบุคลากรเกี่ยวกับระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
    ทั้งภายในและภายนอก
  • จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา
  • จัดทำกรอบแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
  • จัด ทำเอกสารรายละเอียดมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ทั้งภายในและมาตรฐาน/ตัวบ่งชี้การ ประกันคุณภาพภายนอกเพื่อประกอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
  • ประสานงานกับคณะต่างๆ
  • กำกับติดตามการดำเนินงาน

C  -  ตรวจสอบ / ประเมินผล

  • มีคณะกรรมการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในที่มหาวิทยาลัย
    แต่งตั้งโดยใช้วิธีสัมภาษณ์  สังเกต  ศึกษา  เอกสาร
  • เก็บรวบรวมข้อมูลผลดำเนินการประกันคุณภาพภายใน  เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น  จุดที่ควรพัฒนาและแนวทางในการพัฒนาในอนาคต

A  -  การปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการ

  • สรุปข้อมูลผลการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน  ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
  • ประชุมบุคลากรผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกัน พิจารณานำผลข้อมูลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
    และเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติราชการในปีต่อไป